หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาษาถิ่นที่มีความสำคัญกับภาษากลาง

ประเทศไทย นอก จากจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนาม เมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากรข้าวปลาอาหารแล้ว ด้านความงดงามทางวัฒนธรรม ที่มีสีสันโดดเด่นแตกต่างกันในแต่ละภาค ก็ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวขานระบือไกลไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการแสดง หรือวัฒนธรรมด้านภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาษาถิ่น” ที่กำลังมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้





สารบัญ [ซ่อนสารบัญ]
1 นิยามภาษาถิ่น
2 ความหมายของภาษาถิ่น
3 การกำหนดภาษาถิ่น
4 ประเภทของภาษาถิ่น
4.1 ภาษาถิ่นกลาง
4.2 ภาษาถิ่นเหนือ
4.3 ภาษาถิ่นอีสาน
4.4 ภาษาถิ่นใต้
5 สาเหตุการเกิดภาษาถิ่น
5.1 ภูมิศาสตร์อยู่คนละท้องถิ่น
5.2 กาลเวลาที่ผ่านไปจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง
5.3 อิทธิพลของภาษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียง
6 ความแตกต่างระหว่างภาษาไทยถิ่น
7 มนต์เสน่ห์ของภาษาถิ่น
8 ประโยชน์ในการศึกษาภาษาไทยถิ่น


[แก้ไข] นิยามภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น หรือ ภาษาไทยถิ่น (Thai Dialect) ประกอบด้วยคำ 3 คำ ได้แก่ คำว่า “ ภาษา ” “ ไทย ” และ “ ถิ่น " ซึ่งแต่ละคำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ . ศ . 2525 ( พิมพ์ครั้งที่ 6 พ . ศ . 2539) ได้ให้คำจำกัดความดังนี้

“ภาษา” น . เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ; โดยปริยาย หมายถึง คนหรือชาติ ที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น นุ่งห่มและแต่งตัวตาม ภาษา หรือหมายความว่า มีความรู้ ความเข้าใจ

“ไทย” [ ไท ] น . ชื่อประเทศ และชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพรมแดน ติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า ชนชาติไทยมีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดำ ไทยขาว ความมีอิสระในตัว ความไม่เป็นทาส

“ถิ่น” น . ที่ แดน ที่อยู่ เช่น ถิ่นเสือ ถิ่นผู้ร้าย

เมื่อนำคำทั้ง 3 คำ มาเรียงเข้ากันเป็นกลุ่มคำหรือวลี จึงได้คำว่า “ภาษาไทยถิ่น” ซึ่งหมายถึงภาษาที่ใช้พูดติต่อสื่อสาร ตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมาย เข้าใจกันในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งในด้านเสียง คำ และการเรียงคำบ้าง แต่ความหมายคงเดิม

ภาษาไทยถิ่นที่พูดอยู่ตามท้องถิ่นของประเทศไทย ต่างก็เป็นภาษาถิ่นของ ตระกูลไทดั้งเดิม (Proto-Tai) ที่แตกต่างกันไป ถ้าหากถิ่นใดมีลักษณะทั่วไป ทางเสียง คำและความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกันก็จัดอยู่ในภาษาถิ่นนั้น ๆ

[แก้ไข] ความหมายของภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น คือ คำที่ใช้เรียกภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ กัน โดยมียังคงมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของภาษานั้น เช่น ภาษาไทย มีภาษาถิ่นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้ ภาษาถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง หรือถิ่นกลาง เป็นต้น โดยทุกภาษาถิ่นยังคงใช้คำศัพท์ ไวยากรณ์ ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ เป็นต้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้าง ก็จะมีภาษาถิ่นที่หลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อยๆ ลงไปอีก ทั้งนี้ภาษาถิ่นแต่ละถิ่น จะมีเอกลักษณ์ทางภาษาของตนด้วย ภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูด หรือภาษาท่าทาง มากกว่า

[แก้ไข] การกำหนดภาษาถิ่น


การกำหนดภาษาหลัก หรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาว ถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา

แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก

ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสงคมหนึ่งๆ

ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)
ภาษาเฉพาะกลุ่ม
ภาษาสแลง
หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้น

[แก้ไข] ประเภทของภาษาถิ่น
การแบ่งภาษาถิ่นที่ใช้พูดกันในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศไทยนั้น ถ้าแบ่งตามความแตกต่างของภูมิศาสตร์ หรือท้องที่ที่ผู้พูดภาษานั้น ๆ อาศัยอยู่ อาจแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

[แก้ไข] ภาษาถิ่นกลาง
นอกจากภาษาราชการของชาวกรุงเทพฯ แล้ว เรายังสามารถได้ยินสำเนียงภาษาเหน่อของคนจังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรีด้วย

[แก้ไข] ภาษาถิ่นเหนือ
เป็นภาษาที่มีสำเนียงการออกเสียงที่โดดเด่นน่ารักไม่เหมือนใคร เช่น คำว่า เดิ๋ก แปลว่า ดึก, ปวดต้อง แปลว่า ปวดท้อง, วันพู่ก หมายถึง พรุ่งนี้, ตี๋น หมายถึง เท้า และมักลงท้ายประโยคพูดอย่างอ่อนหวานด้วยคำว่า “เจ้า”

[แก้ไข] ภาษาถิ่นอีสาน
ก็มักเป็นคำหรือสำเนียงที่เราได้ยินคุ้นหู เช่นคำว่า ไปบ่ แปลว่า ไปหรือเปล่า, ชั่วโมง พูดว่า ซัวโมง, ข้างแรมพูดว่า เดือนดั๋บ ฯลฯ

[แก้ไข] ภาษาถิ่นใต้
มักจะเป็นคำพูดห้วน ๆ สั้น ๆ เช่น คำว่า ตะกร้า พูดว่า กร้า, กระทะ พูดว่า ทะ, ถังน้ำ พูดว่า ทุงน้ำ, เมษายน พูดว่า เมษรา, วันพฤหัสบดี พูดว่า วันหัด เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นเฉพาะจังหวัด เช่น ที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด มักมีคำสร้อยลงท้ายประโยคว่า “ฮิ” เช่น ละครเรื่องนี้ใครเป็นนางเอกฮิ หรือ ก็มันไม่ชอบฮิ และภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรีหรือภาษาเมืองเพชร ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่มีสำเนียงเพี้ยนออกไปจากภาษาภาคกลาง กรุงเทพฯ โดยสำเนียงชาวเพชรบุรี จะมีลักษณะ เฉพาะตัวเป็นสำเนียงที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ หากจะฟังสำเนียงชาวเพชรบุรีแท้ ๆ จะอยู่ในเขตอำเภอบ้านลาด และอำเภอใกล้เคียง

รูปแบบประโยคของภาษาเมืองเพชรมีลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะการปฏิเสธจะใช้คำว่า “ไม่” ตาม หลังคำกริยา และเปลี่ยนระดับเสียงคำกริยา เช่น กิ๊นไม่ (ไม่กิน) เอ๊าไม่ (ไม่เอา) มี้ไม่ (ไม่มี) ป๊วดไม่ (ไม่ปวด) นอกจากนี้ สำเนียงการออกเสียงสระยังมีลักษณะเฉพาะตัว เช่น คำว่า น้ำ ออกเสียงสั้นตามสระ-ำ ไม่นิยมออกเสียงยาวเป็น “น้าม” เหมือนคนกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่นิยมใช้กันในท้องถิ่นเพชรบุรีโดยเฉพาะ อาทิ คำว่า แมลงปอ พูดว่า แมงกระทุย แมงกระชุน, ชาม กะละมัง เรียกว่า ชาม กะละแม็ง, กะล่อน ชาวเพชรบุรีบางถิ่นออกเสียงควบกล้ำเป็น กล้อน” ไม่แยกพยางค์ ฯลฯ

ในปัจจุบันสำเนียงเพชรได้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง เพราะมีการติดต่อกับผู้คนที่เดินทางผ่านหรือมาท่องเที่ยว รวมทั้งระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน หากต้องการฟังสำเนียงเพชรแท้ ๆ ต้องไปฟังแถวชนบท

[แก้ไข] สาเหตุการเกิดภาษาถิ่น




สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาษาถิ่นต่าง ๆ หรือภาษาถิ่นย่อยมานั้น เรืองเดช ปันเขื่อนขัตย์ ได้ให้เหตุผลใหญ่ ๆ อยู่ 3 ประการคือ

[แก้ไข] ภูมิศาสตร์อยู่คนละท้องถิ่น
ขาดการไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันเป็นเวลานาน หลายชั่วอายุคน ถ้าต่างถิ่นต่างไม่ไปมาหาสู่กันเป็นเวลานาน ๆ ทำให้กลุ่มชนชาติไทย รวมทั้งภาษาของกลุ่มเขาเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นภาษาถิ่นอื่น ๆ ซึ่งไม่เหมือนกันกับภาษาดั้งเดิมในที่สุด

[แก้ไข] กาลเวลาที่ผ่านไปจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง
ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและตามเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลง คำศัพท์ที่เรียกยากกว่าไปเรียกคำศัพท์ที่เรียกง่ายกว่ากะทัดรัดกว่า

[แก้ไข] อิทธิพลของภาษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียง
ซึ่งเป็นชนหมู่มากมีอิทธิพลกว่ามีการยืม คำศัพท์จากภาษาที่มีอิทธิพลกว่า

[แก้ไข] ความแตกต่างระหว่างภาษาไทยถิ่น
ภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ นั้น นอกจากจะมีลักษณะเหมือนกันแล้ว ยังมีความแตกต่างเกิดขึ้นระหว่างภาษาไทยถิ่นในเรื่องต่อไปนี้

1. ลักษณะการออกเสียงแตกต่างกัน เช่น เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่างเช่น เสียงวรรณยุกต์กลาง-ขึ้น ( Mid rising tone) มีในภาษาถิ่นอีสาน แต่ภาษาไทยมาตรฐานไม่มีและหน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ไม่มีภาษาถิ่นอีสาน แต่ในภาษาไทยมาตรฐาน มีทั้ง 12 หน่วยเสียง เป็นต้น

2. ระบบคำแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะแตกต่างเกี่ยวกับเรื่องคำศัพท์ เช่น

2.1 คำลงท้าย ประโยคหรือวลี ใช้เฉพาะถิ่น

ภาษาไทยมาตรฐาน ใช้ สิ นะ คะ ครับ
ภาษาถิ่นใต้ ใช้ หา เล่า ตะ เหอ
ภาษาถิ่นอีสาน ใช้ เด้อ นอ แน แม
ภาษาถิ่นเหนือ ใช้ เจ้า กอ อื่อ กา
2.2 คำศัพท์แตกต่างกัน






2.3 ความหมายแตกต่างกัน เช่น






3. ระบบการสร้างคำ หรือไวยากรณ์ แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะพบว่ามีการเรียงลำดับสลับกัน เช่น

ภาษาถิ่นอีสานใช้ ตำส้ม ภาษาไทยมาตรฐานใช้ส้มตำ
ภาษาถิ่นใต้ใช้ พ่อหลวง, พี่หลวง ภาษาไทยมาตรฐาน หลวงพ่อ, หลวงพี่
ภาษาถิ่นเหนือใช้ น้ำบ่อ ภาษาไทยมาตรฐานใช้ บ่อน้ำ
[แก้ไข] มนต์เสน่ห์ของภาษาถิ่น


เสน่ห์ที่สำคัญของภาษาถิ่น นอกจากจะใช้สื่อความหมายกับบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันให้เข้าใจตรงกันแล้ว ภาษาถิ่นยังมีความโดดเด่นในการช่วยรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นนั้น ๆ ไว้ด้วย อาทิ การแสดงโนราห์ของภาคใต้ ที่ต้องใช้ภาษาถิ่นใต้ ถ้าเราใช้ภาษาถิ่นอื่น หรือภาษากรุงเทพฯ ก็จะไม่สื่อ หมดอรรถรสโดยสิ้นเชิง

การศึกษาและเรียนรู้ภาษาถิ่นนั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยนอกจากทำให้เราได้สัมผัสกับความงดงามของภาษาถิ่นในแต่ละท้องถิ่นแล้ว การที่เรารู้และเข้าใจภาษาถิ่น ยังช่วยทำให้เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันของแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ โดยปริยาย และที่สำคัญยังทำให้ผู้รู้ภาษาถิ่นนั้นสามารถอ่านศิลาจารึกสมัยก่อนซึ่งมักมีภาษาถิ่นเขียนไว้ได้อย่างคล่องแคล่ว

[แก้ไข] ประโยชน์ในการศึกษาภาษาไทยถิ่น
เกิดความเข้าใจในเรื่องของภาษาว่าภาษาในโลกนี้ นอกจากจะมีหลายตระกูลแล้ว ในตระกูล หนึ่ง ๆ ยังมีภาษาย่อยอีกหลายภาษา
เข้าใจความเป็นมาของภาษา และซาบซึ้งในวัฒนธรรมในการใช้ภาษาและเห็นความสำคัญ ของภาษาไทยถิ่นนั้น ๆ
เข้าใจในเรื่องการกลายเสียงและความหมายของคำ ในภาษาไทยถิ่นหนึ่ง อาจเห็นการใช้คำบางคำบางถิ่นฟังแล้วอาจถือว่าเป็นคำหยาบแต่ความหมายไม่ใช่อย่างที่เข้าใจ เป็นต้น
เป็นแนวทางในการเรียนรู้วิธีการ และวิเคราะห์ภาษาในระบบต่าง ๆ เช่น เสียงพยัญชนะเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และอื่น ๆ
เป็นประโยชน์ในการสอนภาษาแก่เด็กนักเรียนที่พูดภาษาถิ่นและแก้ไขปัญหา เด็กนักเรียน ที่ออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด พร้อมนำความรู้ไปแก้ปัญหาในการเรียนการสอนภาษาไทยแก่เด็กนักเรียน

ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น