หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สำนวนและสุภาษิตไทย

สํานวนสุภาษิต
สำนวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สํานวนโวหาร
เช่น สารคดีเรื่องนี้สํานวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สํานวน
โวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคําหรือข้อความ
ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตาม
ตัวหรือมีความหมายอื่น แฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า
รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคําที่แสดงออกมาเป็นข้อความ
พิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สํานวนฝรั่ง สํานวนบาลี,
ชั้นเชิงหรือท่วงทํานองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สํานวน
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) สํานวนยาขอบ สํานวนไม้ เมืองเดิม;
ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น
อิเหนามีหลายสํานวน บทความ ๒ สํานวน

สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว
มี ความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง เช่น กระต่ายตื่นตูม

เมื่อพูดถึงสัตว์เลี้ยงอย่างแมว หลายคนอาจนิยมชมชอบในความน่ารัก ขี้อ้อน ช่างเอาใจ ซึ่งบางครั้งก้อมาพร้อมกับความซุกซน แต่ก็แฝงไว้ด้วยความฉลาดเฉลียว หลาย ๆ ท่านอาจจะชอบเลี้ยงแมวด้วยสาเหตุเหล่านี้ ขณะที่บางครอบครัวอาจเลี้ยงแมวไว้เพราะความเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์นำโชค เลี้ยงแมวแล้วจะดี ความเชื่อเหล่านี้อาจสะท้อนได้จากวัฒนธรรมประเพณีของไทย ที่มักจะมีแมวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมด้วย เช่น พิธีแห่นางแมวขอฝน พิธีการแต่งงาน เป็นต้น



เช่นเดียวกัน สำนวนสุภาษิตของไทย ที่บางสำนวนก็จะมีแมวเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องด้วย เรามาลองดูกันดีกว่าว่าสำนวนที่จะนำเสนอต่อไปนี้ สำนวนใดบ้างที่คุณรู้จัก



ที่เท่าแมวดิ้นตาย

มีที่มาจากนิทานพื้นบ้าน เรื่อง "ศรีธนญชัย" ตอนที่ศรีธนญชัยกราบทูลขอที่ดินจากพระเจ้าแผ่นดิน ขอเพียงที่เท่าแมวดิ้นตายเท่านั้น พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าเป็นที่ดินเพียงเล็กน้อย จึงทรงอนุญาต ศรีธนญชัยได้ทีจึงเอาแมวตัวหนึ่งมาผูกเชือกที่คอ แล้วเฆี่ยนให้แมวดิ้นไปเรื่อย ๆ กว่าแมวตัวนั้นจะตายก็กินพื้นที่เป็นอาณาบริเวณกว้าง





จากนิทานเรื่อง ศรีธนญชัย "ที่เท่าแมวดิ้นตาย" จะหมายถึง ที่ดินจำนวนมาก แต่ในการใช้เป็นสำนวน จะหมายถึง ที่ดินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แมวไม่อยู่ หนูละเลิง

อย่าคิดว่า เขียนผิด หรือสะกดผิดนะคะ คำว่า ละเลิง เป็นคำเก่าที่มีความหมายว่า เหลิงจนลืมตัว ลำพอง หรือคึกคะนอง แต่ในปัจจุบันมักจะใช้ "แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง"



สำนวนนี้หมายถึง เวลาที่ผู้ให่ไม่อยู่ผู้น้อยก็เล่นกันคึกคะนอง ลำพองตน ที่ว่าสำนวนนี้น่าสนใจก็เพราะว่า การเอาธรรมชาติของหนูที่กลัวแมวมาเปรียบเทียบ โดยเปรียบแมวเป็นผู้ใหญ่ เปรียบหนูเป็นผู้น้อยนั่นเอง และบางโอกาสสำนวนนี้ก็จะมีคำต่อท้ายสำนวนด้วย คือ

"แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง แมวมาหลังคาเปิง"

นั่นคือเวลาผู้ใหญ่ไม่อยู่ ผู้น้อยก็เล่นกันอย่างเมามัน สนุกสนาน ครั้นผู้ใหญ่กลับมาก็ลนลาน รีบเก็บกวาดข้าวของและสถานที่ให้อยู่ในสภาพปกติ เสมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น



ฝากเนื้อไว้กับเสือ ฝากปลาย่างไว้กับแมว



มีที่มาจากบทเสภาหลวงเรื่อง "ขุนช้าง-ขุนแผน" ตอนที่ขุนแผนทิ้งนางวันทองไว้กับขุนช้าง แล้วขุนแผนก็คิดว่า "เราฝากวันทองไว้กับขุนช้างเหมือนฝากปลาย่างไว้กับแมว"

เพราะขุนช้างก็รักนางวันทองเช่นกัน ดังคำประพันธ์จากบทเสภาหลวงเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ดังนี้



เนื้อตกถึงเสือหรือจะงด อร่อยรสค่อยกินเป็นภักษา



ทิ้งไว้ให้มันสองเวลา เจ้าแก้วตานี้จะเป็นประการใด



สำนวนนี้บางทีอาจใช้ว่า "ฝากอ้อยไว้กับช้าง ฝากปลาย่างไว้กับแมว" ก็ได้ทั้งสองแบบ เพราะทั้งสองแบบมีความหมายเหมือนกันคือ ฝากสิ่งใดไว้กับผู้ที่ชอบสิ่งนั้น ย่อมสูญเสียให้กับผู้นั้นไป



หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว

มีความหมายว่า การทำประชดหรือแดกดันที่ผู้ทำรังแต่จะเสียประโยชน์ ตัวอย่างเช่น คุณยกสมบัติให้เขาไปแบบนี้ เหมือนหุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว เขายิ่งชอบใจ เอาไปถลุงใช้เพลินไปเลย เป็นต้น



สำนวนนี้มีที่มาจากความจริงที่ว่า โดยทั่วไปแล้ว หมาชอบข้าว และแมวก็ชอบกินปลา ดังนั้น เมื่อหุงข้าวหรือปิ้งปลาให้ ทั้งหมาและแมวก็กินเสียเพลิน มีความสุข แต่คนหุงคนปิ้งกลับเสียของเอง เปรียบเหมือนเราโกรธใครแล้วให้ในสิ่งที่ผู้นั้นขอเพื่อเป็นการประชดแดกดัน ก็เท่ากับเข้าทางเขา และผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือตัวเราเอง เพราะไหนจะไม่หายโกรธแล้ว ยังต้องเสียของไปอีก



เรียกว่าเป็นการประชดแดกดันอย่างไม่ถูกทาง และทำให้เสียหายเพิ่มขึ้น ดังเช่นคำประพันธ์จากสุภาษิตคำโคลงของสำนวน "หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว" ดังนี้



ประชดหมายเรียกร้อง เห็นใจ



จึงทุ่มเทกลับไป เฉกแสร้ง



เขารอรับเร็วไว ทุกสิ่ง เสนอนา



เกิดก่อประโยชน์แล้ง ต่างล้วนคือสูญ



ย้อมแมวขาย

เป็นสำนวนที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ในหมู่ของนักธุรกิจผู้ทำการค้า ในสมัยโบราณคนมักนิยมเลี้ยงแมวไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา และเพื่อนก็มักต้องการให้เพื่อนดูดี สวยงาม คนสมัยโบราณจึงใช้ขมิ้นบ้าง ปูนบ้าง มาย้อมสีขนของแมวให้มีสีสันที่สดใสสวยงามเป็นที่สะดุดตา จึงเป็นที่มาของสำนวน



บางตำราก็ว่าสำนวนนี้มี ที่มาจากบรรดาแมวมงคลทั้งหลาย ซึ่งนิยมเลี้ยงในหมู่เจ้าขุนมูลนาย หากชาวบ้านนำแมวลักษณะดีถูกต้องตามตำรามาขายก็จะให้ราคางาม จึงเกิดการ "ย้อมแมว"

คือจับเอาแมวทั่วไปมาแต้มแต่งให้ดูมีลักษณะเหมือนแมวมงคล แล้วจึงนำไปหลอกขาย สำนวนย้อมแมวขายในปัจจุบันมักจะใช้ในการทำธุรกิจการค้าที่หวังผลกำไร หลอกขายสินค้าที่ภายนอกดูดี แต่แท้ที่จริงแล้วด้อยคุณภาพ



บางโอกาสอาจใช้ในการพูดประชดประชัน เสียดสีสาวงามที่เข้าประกวดตามเวทีต่าง ๆ ที่มักถูกปรับโฉมให้สวยงามหลอกสายตาคณะกรรมการ ตรงตามความหมายของสำนวนคือ ตกแต่งสิ่งที่ไม่ดี ไม่สวยงาม โดยมีเจตนาให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นของดี



สำนวนทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีที่มาและความหมายแฝงอยู่ แต่ละสำนวนเมื่อฟังแล้วอาจจะให้ความรู้สึกไม่ดี อาจจะฟังแล้วคิดไปในทางที่ลบ บางสำนวนอาจใจร้ายกับแมว หรือมองว่าแมวเป็นสัตว์ที่ไม่น่าไว้วางใจ อาจเป็นเพราะสุภาษิตสำนวนเหล่านี้มีมาแต่โบราณ โดยสำนวนเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งยุคสมัยนั้นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับแมวอาจยังมีระยะห่างระหว่างกัน

แต่จากการที่คนไทยรู้จักสังเกตอากัปกิริยาของแมวแล้วนำมาฝูกเป็น สำนวนได้ นั่นอาจจะทำความเข้าใจได้ว่า ระหว่างคนไทยกับแมวในสมัยก่อนย่อมมีความผูกพันกันในระดับหนึ่ง เพียงแต่อาจจะยังไม่กระชับแน่นแฟ้นดังเช่นความรู้สึกที่คนรักแมวมีให้แก่แมว แสนรักในยุคสมัยนี้ก็เป็นได้...ว่าไหม


http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1245

ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ

รู้กันหรือไม่ว่าภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีวันที่ระลึกถึงภาษาไทยของเราด้วยเหมือนกัน โดยในวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี ประเทศไทยได้กำหนดให้เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"


ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ




สืบเนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์,วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ


เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ


สำหรับเหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง


สำหรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."


นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"


นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น


วัตถุประสงค์ในการจัดวันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังต่อไปนี้


1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย


2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542


3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ ให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น


5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชนทั่วประเทศ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชน ทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ


ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ


1. วันภาษาไทยแห่งชาติ จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ "ภาษาประจำชาติ" ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ


2. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ


3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


กิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ

กิจกรรมในวันนี้ ก็จะมีทั้งของสถาบันการศึกษา,หน่วยงานภาครัฐฯ และเอกชน ที่จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ,การอภิปรายทางวิชาการ,การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน เป็นต้น

ภาษาไทยถือเป็นภาษาแห่งชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราคนไทยควรภาคภูมิใจ เพราะบางประเทศไม่มีแม้กระทั่งภาษาที่เป็นของตัวเอง ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่ และสืบทอดต่อไปให้ลูกหลานได้ศึกษา หากเราคนไทยไม่ช่วยกันรักษาไว้ สักวันหนึ่งอาจจะไม่มีภาษาไทยให้ลูกหลานใช้ก็เป็นได้

กิจกรรม วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2554

นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม แถลงข่าว วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2554 โดยระบุว่า กระทรวงวัฒนธรรม จะจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติในวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ มีกิจกรรม เช่น นิทรรศการและกิจกรรมหมอภาษา การแสดงทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาถิ่น รวมทั้งได้ร่วมกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำดวงตราไปรษณีย์ที่ระลึกเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติเป็นครั้งแรกด้วย พร้อมกันนี้ได้สรรหาและคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นเพื่อเป็นแบบอย่างแก่เยาวชน และสังคม ประจำปี 2554


สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล วันภาษาไทยแห่งชาติ 2554 มีดังนี้

ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่

พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตโต)

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร

คุณหญิงคณิตา เลขะกุล

นางชอุ่ม ปัญจพรรค์

นายช่วย พูลเพิ่ม

ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล

ศาสนาจารย์ ดร.มะเนาะ ยูเด็น

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์

ผศ.วิพุธ โสภวงศ์

พล.ต.ม.ร.ว.ศุภวัฒย์ เกษมศรี

นายอาจิณ จันทรัมพร

ผศ.รอ.เสนีย์ วิลาวรรณ


ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (ชาวไทย) ได้แก่

นายกันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ผศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร

นายธีรภาพ โลหิตกุล

น.ส.นภา หวังในธรรม

นายนิติพงษ์ ห่อนาค

พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค

นายประภัสสร เสวิกุล

นายปราโมทย์ สัชฌุกร

นายศุ บุญเลี้ยง

นางสินจัย เปล่งพานิช

น.ท.สุมาลี วีระวงศ์

นายสัญญา คุณากร

นางอารีย์ นักดนตรี

นายเอนก นาวิกมูล

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (ชาวต่างประเทศ) ได้แก่

ศ.ดร.เอสเธอร์ เวคแมน

นางศริสตี แอนน์ เคนนีย์ บราวน์ฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย

ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ได้แก่

พระราชประสิทธิคุณ (สุนันท์ สุภาจาโร)

ดร.ฉันทัส ทองช่วย

น.ส.นฤมล มั่นวงศ์วิโรจน์

นายบุญธรรม เทิดเกียรติชาติ

นายพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ

นายมนัส สุขสาย

นายเมืองดี นนทะธรรม

ผศ.สนิท บุญฤทธิ์

นายอินตา เลาคำ

ส่วน โครงการรางวัล เพชรในเพลง ครั้งที่ 8 ซึ่งจะมอบให้กับนักร้อง เพลงไทยสากล-ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย มีผู้ได้รับการประกาศยกย่อง ดังนี้

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ได้แก่

เพลงบ้านเรา ประพันธ์โดย นายชาลี อินทรวิจิตร

เพลงกลิ่นโคลนสาบควาย ประพันธ์โดย คือ นายไพบูลย์ บุตรขัน

รางวัลประเภทการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่

เพลงบ้านเราจะเหมือนเดิม ประพันธ์โดย นายประภาส ชลศรานนท์

เพลงกราบดิน ประพันธ์โดย นายปฏิเวธ อุทัยเฉลิม (ฟองเบียร์)

เพลงเพลงของเธอ ประพันธ์โดย นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา

เพลงเทียนไขไฟฟ้า ประพันธ์โดย นายสิปปภาส รักวงค์ (ปาน ประกาศิต)

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่

เพลงลิขิตรักจากเบื้องบน ขับร้องโดย นายอุเทน พรหมมินทร์

เพลงขอไปให้ถึงดาว ขับร้องโดย น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร)

เพลงสัญญาก่อนนอน ขับร้องโดย นายสร่างศัลย์ เรืองศรี (หนูมิเตอร์ อาร์สยาม)

เพลงกลัว ขับร้องโดย น.ส.เตือนใจ ศรีสุนทร (ฝน ธนสุนทร)






ที่มา
www.culture.go.th, tungsong.com

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วรรณคดีไทย

วรรณคดีไทย



มหาชาติคำหลวง หรือ มหาเวสสันดรชาดก
เดิมเป็นภาษามคธหนึ่งพันคาถา แปลเป็นไทยมาแต่กรุงสุโขทัย เป็นหลักของหนังสือไทยเรื่องหนึ่ง สำคัญกว่าชาดกอื่นๆ ด้วยปรากฎบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ทั้ง ๑๐ อย่าง ยาว ๑๓ กัณฑ์ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิตในกรุงศรีอยุธยา ร่วมกันแปลแต่งมหาชาติขึ้นโดยวิธีตั้งสลับภาษามคธบาทหนึ่ง แปลเป็นไทยวรรคหนึ่ง เป็นฉันท์บ้าง โคลงบ้าง เพื่อความไพเราะและใกล้เคียงภาษาเดิม จึงเป็นหนังสือซึ่งนับถือว่า แต่งดีมาแต่ครั้งกรุงเก่า


--------------------------------------------------------------------------------



ลิลิตพระลอ
พระลอเป็นนิยายถิ่นไทยทางภาคเหนือ มีเค้าโครงเรื่องว่าเกิดในแคว้นลานนา แต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดลิลิต (ใช้โคลงและร่ายคละกันไป) มีข้อความกระทัดรัด ไพเราะ รักษาข้อบังคับ ฉันทลักษณ์เคร่งครัด วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทลิลิต ทั้งเนื้อเรื่อง กระบวนร้อยกรอง และภาษาที่ใช้ เป็นครูด้านแบบฉบับของลิลิตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมา เป็นวรรณคดีบริสุทธิ์ตรงที่ว่า ได้พรรณนาความรักทุกประเภทอันมนุษย์จะพึงมีไว้


--------------------------------------------------------------------------------



สังข์ทอง
เป็นนิทานในคัมภีร์ปัญญาสชาดกเรียก สุวัณณสังขชาดก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อทรงพระราชทานนิพนธ์บทละครเรื่องสังข์ทอง คงได้เลือกบทละครครั้งกรุงเก่ามาเป็นโครง เพราะมีกลอนเดิมหลายแห่งที่ทรงโปรด จนเอามาใช้ในพระราชนิพนธ์ ซึ่งกลอนเดิมน ี้คงจะเป็นของนับถือ และนิยมกันว่าแต่งเป็นอย่างดี ในครั้งกรุงศรีอยุธยาด้วย


--------------------------------------------------------------------------------



กากี
มีเค้าจากเรื่องกากาติชาดกในนิบาตชาดก บทมโหรีมีเนื้อร้องเหมือนกับที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (กุ้ง) นิพนธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นแบบ "กาพย์ห่อโคลง" ส่วนในฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งเป็นคำกลอนเพื่อใช้เป็นบทร้องส่งมโหรี ได้แต่งเรื่องนี้ในแผ่นดิน ที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทกลอนในเรื่องอันเป็นสำนวนที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นเยี่ยมในด้านการแต่งบทร้อง เนื้อความมีหลายรส สามารถชักจูงใจผู้ฟัง มีทั้งหมด ๘๐ คำกลอน แต่งไปจบเพียงตอนนางกากีถูกลอยแพ


--------------------------------------------------------------------------------



มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์
เป็นนิทานชาดก ในตำรามหาวัสดุของอินเดียโบราณฝ่ายมหายาน เรื่องสุธนชาดก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระสุธนคำฉันท์ ส่วนบทละครเรื่องมโนห์รา เห็นได้ว่าไม่เป็นกลอนแปดแท้ เช่นบทละครสามัญแต่ปนกาพย์ ทำนองกลอ นเป็นอย่างที่ละครมโนห์ราใช้กันอยู่ทางปักษ์ใต้ สันนิษฐานว่าบทละครมโนห์ราเป็นบทละครชิ้นแรกในกรุงเก่า


--------------------------------------------------------------------------------



พระอภัยมณี
พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง หรือสุนทรภู่ แต่งเป็นประเภทกลอนแปด เป็นภาษาเขียนในบทกวีที่อ่านแล้วสนุก มีคติเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะต่อเนื้อหาของเรื่อง เป็นนักกวีที่เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์และภาษาศาสตร์ ใช้ถ้อยคำและสำนวน โวหารได้ฉับพลัน องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องเกียรติคุณ ในฐานะบุคคลดีเด่นของโลกในสาขาวัฒนธรรม


--------------------------------------------------------------------------------


เงาะป่า
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทละครที่นับเป็นการริเริ่มในด้านวรรณคดีอีกแนวหนึ่ง เรื่องและฉากเหตุการณ์แปลกออกไป เป็นบทละครรูปแบบไทยโบราณ เค้าโครงเป็นโศกนาฏกรรม แสดงขนบธรรมเนียม ชีวิตการต่อสู้ การทำมาหากิน และแทรกภาษาขอ ง "เงาะ" ไว้ด้วยสำนวนกลอนไพเราะ บทพรรณนางดงาม มีคติชีวิตคมคาย


--------------------------------------------------------------------------------



มัทนะพาธา หรือ ตำนานแห่งดอกกุหลาบ
ละครพูดคำฉันท์ ๕ องค์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นหนังสือแต่งดีเพราะทรงพระราชดำริใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ซึ่งเป็นของแปลกในกระบวนวรรณคดี และแต่งได้โดยยากในทางภาษา ทรงคิดเค้าโครงเรื่องด้ วยพระองค์เอง จึงนับว่าเป็นจินตนิยาย


--------------------------------------------------------------------------------



สาวิตรี
พระราชนิพนธ์บทละครร้อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องมีในคัมภีร์มหาภารต อันเป็นมหากาพย์ภาษาสันสกฤตเรื่องหนึ่งของอินเดีย (คู่กับคัมภีร์รามายณ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์) เป็นเรื่องแสดงถึงอำนาจแห่งความรัก และความภักดีอั นยิ่งใหญ่ที่ภริยามีต่อสามี ได้ทรงพระราชนิพนธ์โดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ


--------------------------------------------------------------------------------



สกุนตลา
เป็นเรื่องเกร็ดอันหนึ่งในมหาภารตเรียกว่า ศกุต์โลปาข์ยาณ ถูกแปลไปหลายภาษา การแปลแต่งเป็นไทยนี้ เพื่อให้เหมาะแก่การที่จะเล่นเป็นบทละครรำสำนวนหนึ่ง และบทละครร้องหรือบทละครดึกดำบรรพ์อีกสำนวนหนึ่ง โดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของเซอร์วิลเลี่ยม โ ยนส์ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้ นับเป็นช่วงระยะเวลาที่ภาษาเขียนได้เจริญสูงสุด ปรากฎบทพระราชนิพนธ์ในพระองค์มากกว่า ๒๐๐ เรื่อง


--------------------------------------------------------------------------------



กนกนคร
นิทานในหนังสือสันสกฤตชื่อ กถาสริตสาครเรื่องเมืองทอง พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงนิพนธ์เป็นนิทานคำกลอนประเภทกลอนหกล้วนๆ สร้างระเบียบบังคับกลอนแนวใหม่ ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นทั้งด้านสำนวนโวหาร ถ้อยคำ ใช้คำง่ายๆ แต่มีข้อความไพเราะ เนื้อเรื ่องให้ความเพลิดเพลิน ให้ความรู้ศัพท์แปลก ๆ สูง ๆ ถ้อยคำที่นำมาใช้อย่างตั้งใจว่า ต้องเป็นคำที่ได้น้ำหนักกันอย่างดี มีความหมาย ทรงพระนิพนธ์จบลงโดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งกล่าวว่าแปลจากสมุดสันสกฤต ชื่อ ตริวิกรมาโธคาศรีระ


--------------------------------------------------------------------------------



กามนิต - วาสิฎฐี
เป็นนิยายอิงศาสนาพุทธทางลัทธิมหายาน ดำเนินเรื่องอาศัยพุทธประวัติ และหลักธรรม ตลอดจนเรื่องราวในพระสูตรต่างๆ เป็นโครง แทรกลัทธิศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีอินเดีย แต่งโดยนักเขียนชาวเดนมาร์ก เสฐียรโกเศศและนาคะประทีปแปลแต่งเป็นหนังสือนวนิยาย ร้อยแก้ว มีสำนวนโวหารไพเราะ จังหวะลีลาในการประพันธ์เหมาะสมแก่เหตุการณ์ และบรรยากาศของเรื่อง

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki

วรรณกรรมท้องถิ่น

วรรกรรมท้องถิ่น



ภูมิหลัง

วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่บันทึกเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ การประพฤติปฏิบัติของประชาชนธรรมดาทั่วไป ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

วัฒนธรรมพื้นบ้านมีขอบข่ายกว้างขวาง โดยตามรูปแบบได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

๑. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทต้องอาศัยภาษา ได้แก่

๑.๑ นิทานพื้นบ้าน เช่น เทพนิยาย นิทนประจำถิ่น นิทานวีรบุรุษ นิทานเกี่ยวกับสัตว์ นิทานอธิบายเหตุ นิทานตลกขบขัน นิทานร่าเริง

๑.๒ ภาษาถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมการพูดจาและการตั้งชื่อ เช่น ชื่อบ้านนามเมือง ที่มีความเชื่อเข้าไปเกี่ยวข้อง

๑.๓ บทภาษิต คำคม คำพังเพย

๑.๔ ปริศนาคำทาย

๑.๕ คำพูดที่คล้องจองกัน เช่น คำกลอนสำหรับเด็ก

๑.๖ เพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงพื้นบ้านที่ร้องด้วยภาษาถิ่น มีทำนองเป็นของท้องถิ่น เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงขับร้อง เป็นเรื่องราว

๒. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทที่ไม่ต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อ ได้แก่

๒.๑ สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน

๒.๒ ศิลปะพื้นบ้าน

๒.๓ หัตถกรรมพื้นบ้าน

๒.๔ เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน

๒.๕ อาหารพื้นบ้าน การบริโภคและนิสัยของชาวบ้าน

๒.๖ อากัปกิริยาของชาวบ้าน เช่น ท่าทางการแสดงความอาย อาการโกรธ อาการตอบรับหรือปฏิเสธ และอากัปกิริยาทั่ว ๆ ไป

๒.๗ ดนตรีพื้นบ้าน

๓. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภท ประสมประสาน

๓.๑ ความเชื่อ ได้แก่ การถือโชคลาง คาถาอาคม หารทำเสน่ห์และเครื่องรางของขลัง

๓.๒ ละครชาวบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน และระบำของชาวบ้าน

๓.๓ ประเพณี และพิธีกรรมพื้นบ้าน

๓.๔ งานมหกรรม พิธีการฉลอง

๓.๕ การเล่น หรือกีฬาพื้นบ้าน รวมทั้งการเล่นของเด็ก

๓.๖ ยากลางบ้าน

จากการแบ่งประเภทของวัฒนธรรมพื้นบ้านดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านสัมพันธ์กับชีวิตความเป็ยอยู่ทุกอย่างของคนในท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต้องแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการเมือง

ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น

วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง วรรณกรรมี่เป็นมุขปาฐะ (ใช้ถ้อยคำเล่าสืบต่อ ๆ กันมา) และลายลักษณ์(บันทึกในวัสดุต่าง ๆ เช่น ในใบลาน และบันทึกในกระดาษที่เรียกว่า สมุดไทย สมุดข่อย เป็นต้น) วรรณกรรมเหล่านี้ปรากฏอยู่ในท้องถิ่นภาคต่าง ๆ ของไทย โดยคนท้องถิ่นนั้นเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา รูปแบบฉันทลักษณ์เป็นไปตามความนิยมของคนท้องถิ่น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาของท้องถิ่นนั้น ๆ วรรณกรรมท้องถิ่นมีอยู่ในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย เช่น ท้องถิ่นใต้ ท้องถิ่นเหนือ ท้องถิ่นอีสาน ท้องถิ่นภาคกลาง

ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น

วรรณกรรมท้องถิ่นมีลักษณะที่สรุปได้ ดังนี้

๑. ชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นผู้สร้างสรรค์ คัดลอกและเผยแพร่

๒. กวีผู้ประพันธ์ ส่วนมากคือ พระภิกษุและชาวบ้าน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง

๓. ภาษาที่ใช้เป็นภาษาประจำถิ่น เป็นภาษาที่เรียบบง่ายมุ่งการสื่อความหมายกับผู้อ่าน

สำนวนโวหารเป็นของท้องถิ่น

๔. เนื้อเรื่องมุ่งให้ความบันเทิงใจ บางครั้งได้สอดแทรกคติธรรมของพุทธศาสนา

๕. ค่านิยมยึดปรัชญาแบบชาวพุทธ

ประวัติความเป็นมาในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น

การศึกษาวรรณกรรมไทย (รวมทั้งวรรณคดี หรือวรรณกรรมแบบฉบับ) เริ่มศึกษาเมื่อสมัย

รัชกาลที่ ๕ โดยมีการตั้งโบราณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้รวบรวม ชำระ ซ่อมแซมวรรณกรรมที่กระจัดกระจาย โดยผู้รวบรวมคือ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ขุนนาง ซึ่งรู้จักแต่วรรณคดีหรือวรรณกรรมในราชสำนักเท่านั้น

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยดำเนินการต่อจากโบราณคดีสโมสร โดยได้จัดประเภทของวรรณกรรมและพิจารณาว่าวรรณกรรมใดสมควรยกย่อง แต่การศึกษาก็อยู่ในวงจำกัด การศึกษาจึงจำกัดอยู่เพียงในวรรณกรรมที่ชำระได้ในครั้งนั้นเท่านั้ น ไม่ได้ศึกษาวรรณกรรมอื่น ๆ ให้กว้างขวางออกไป วรรณกรรมชาวบ้าน ชาววัดจึงถูกทอดทิ้งอยู่เป็นนาน

เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๒ สถาบันการศึกษาระดับอุดมได้นำศึกษา ได้แนวคิดจาสกตะวันตกที่นิยมศึกษาเรื่องราวทางพื้นบ้าน และเสนอเป็นวิทยาการในหลักสูตร ที่เรียกชื่อว่า Folklore ใช้ชื่อว่า “คติชาวบ้าน” บ้าง “คติชนวิทยา” บ้าง จากการศึกษาทำให้ทราบถึงแนวคิด คตินิยม ปรัชญาชีวิตของสังคมในท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทย มีความแตกต่างจากปรัชญาชีวิตและสังคมของภาคกลางเกือบสิ้นเชิง จึงทำให้มีการหันมาศึกษาวรรณกรรมในแต่ละท้องถิ่นมากขึ้น จนต่อมาได้มีการจัดรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓)

การเปรียบเทียบวรรณกรรมแบบฉบับกับวรรณกรรมท้องถิ่น


วรรณกรรมแบบฉบับ(วรรณคดี)
วรรณกรรมท้องถิ่น

๑. ชนชั้นสูง เจ้านาย ข้าราชสำนักมีสิทธิมีส่วนเป็นเจ้าของ

-ผู้สร้างสรรค์ รวมถึงจดบันทึก คัดลอก

-ผู้ใช้(อ่าน ฟัง)

-อนุรักษ์

-แพร่หลายในราชสำนัก

๒. กวี ผู้ประพันธ์ เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต หรือเจ้านาย ฉะนั้นมโนทัศน์ ค่านิยมและทัศนะที่เห็นสังคมสมัยนั้นจึงจำกัดอยู่ในรั้วในวัง หรือมีการสอดแทรกสภาวะสังคมก็เป็นแบบมองเห็นสังคมอย่างเบื้อบนมองลงมา

๓. ภาษาและกวีโวหารนิยมการใช้คำศัพท์อุดมไปด้วย คำบาลีสันสกฤต โดยเชื่อว่าเป็นการแสดงภูมิปัญญาของกวี แพรวพราวไปด้วยกวีโวหารที่เข้าใจยาก

๔. เนื้อหาส่วนใหญ่จะมุ่งในการบอพระเกียรติ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ต่างก็มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการผ่อนคลาย ทางด้านอารมณ์และศาสนาอยู่ไม่น้อย

๕. ค่านิยมอุดมคติยึดปรัชญาชีวิตแบบสังคมชาวพุทธ และยกย่องสถาบันกษัตริย์อีกด้วย
๑. ชาวบ้านทั่วไปมีสิทธิเป็นเจ้าของ คือ

-ผู้สร้างสรรค์ ผู้ใช้

-อนุรักษ์

-แพร่หลายในหมู่ชาวบ้าน





๒. กวีผู้ประพันธ์ เป็นชาวพื้นบ้าน หรือพระภิกษุสร้างสรรค์วรรณกรรมขึ้นมา ด้วยใจรักมากกว่า “บำเรอท้าวไท้ ธิราช ผู้มีบุญ” ฉะนั้นมโนทัศน์เกี่ยวกับสภาวะของสังคมจึงเป็นสังคมชาวบ้านแบบประชาคมท้องถิ่น

๓. ภาษาที่ใช้เป็นภาาาง่าย ๆ เรียบ ๆ มุ่งการนื่อความหมายเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นภาษาของท้องถิ่นนั้น ละเว้นคำศัพท์บาลีสันสกฤต โวหารนิยมสำนวนที่ใช้ในท้องถิ่น

๔. เนื้อหา ส่วนใหญ่มุ่งในทางระบายอารมณ์ บันเทิงใจ แต่แฝงคติธรรมทางพุทธศาสนา แม้ว่าตัวเอกของเรื่องจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม แต่มิได้มุ่งยอพระเกียรติมากนัก

๕. ค่านิยมและอุดมคติโดยทั่วไปเหมือนกับวรรณกรรมแบบฉบับ ยกย่องสถาบันกษัตริย์แต่ไม่เน้นมากนัก


คุณค่าของวรรณกรรมท้องถิ่น

วรรณกรรมท้องถิ่นมีประโยชน์มากมายหลายประการดังนี้

๑. ให้ความบันเทิงใจแก่ชุมชน เช่น ขับเสภาในภาคกลาง เล่าค่าวหรือขับลำนำภาคเหนือ อ่านนหังสือในบุญเงือนเฮือนดีในภาคอีสาน การสวดหนังสือและสวดด้านของภาคใต้

๒. ให้เข้าใจในค่านิยม โลกทัศน์ของแต่ละท้องถิ่นโดยผ่านทางวรรณกรรม

๓. เข้าใจวัฒนธรรมของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น

๔. ก่อให้เกิดความรักถิ่น หวงแหนมาตุภูมิ และรักสามัคคีในท้องถิ่นของตน









ที่มา : ธวัช ปุณโณทก วรรณกรรมท้องถิ่น สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ,2525



--------------------------------------------------------------------------------
โดย : นางสาว เรวดี เอี่ยมจินตนากิจ, โรงเรียนวังพิกุลพิทยาคม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์, วันที่ 10 สิงหาคม 2545


ภาษาถิ่นที่มีความสำคัญกับภาษากลาง

ประเทศไทย นอก จากจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนาม เมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากรข้าวปลาอาหารแล้ว ด้านความงดงามทางวัฒนธรรม ที่มีสีสันโดดเด่นแตกต่างกันในแต่ละภาค ก็ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวขานระบือไกลไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการแสดง หรือวัฒนธรรมด้านภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาษาถิ่น” ที่กำลังมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้





สารบัญ [ซ่อนสารบัญ]
1 นิยามภาษาถิ่น
2 ความหมายของภาษาถิ่น
3 การกำหนดภาษาถิ่น
4 ประเภทของภาษาถิ่น
4.1 ภาษาถิ่นกลาง
4.2 ภาษาถิ่นเหนือ
4.3 ภาษาถิ่นอีสาน
4.4 ภาษาถิ่นใต้
5 สาเหตุการเกิดภาษาถิ่น
5.1 ภูมิศาสตร์อยู่คนละท้องถิ่น
5.2 กาลเวลาที่ผ่านไปจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง
5.3 อิทธิพลของภาษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียง
6 ความแตกต่างระหว่างภาษาไทยถิ่น
7 มนต์เสน่ห์ของภาษาถิ่น
8 ประโยชน์ในการศึกษาภาษาไทยถิ่น


[แก้ไข] นิยามภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น หรือ ภาษาไทยถิ่น (Thai Dialect) ประกอบด้วยคำ 3 คำ ได้แก่ คำว่า “ ภาษา ” “ ไทย ” และ “ ถิ่น " ซึ่งแต่ละคำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ . ศ . 2525 ( พิมพ์ครั้งที่ 6 พ . ศ . 2539) ได้ให้คำจำกัดความดังนี้

“ภาษา” น . เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ; โดยปริยาย หมายถึง คนหรือชาติ ที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น นุ่งห่มและแต่งตัวตาม ภาษา หรือหมายความว่า มีความรู้ ความเข้าใจ

“ไทย” [ ไท ] น . ชื่อประเทศ และชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพรมแดน ติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า ชนชาติไทยมีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดำ ไทยขาว ความมีอิสระในตัว ความไม่เป็นทาส

“ถิ่น” น . ที่ แดน ที่อยู่ เช่น ถิ่นเสือ ถิ่นผู้ร้าย

เมื่อนำคำทั้ง 3 คำ มาเรียงเข้ากันเป็นกลุ่มคำหรือวลี จึงได้คำว่า “ภาษาไทยถิ่น” ซึ่งหมายถึงภาษาที่ใช้พูดติต่อสื่อสาร ตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมาย เข้าใจกันในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งในด้านเสียง คำ และการเรียงคำบ้าง แต่ความหมายคงเดิม

ภาษาไทยถิ่นที่พูดอยู่ตามท้องถิ่นของประเทศไทย ต่างก็เป็นภาษาถิ่นของ ตระกูลไทดั้งเดิม (Proto-Tai) ที่แตกต่างกันไป ถ้าหากถิ่นใดมีลักษณะทั่วไป ทางเสียง คำและความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกันก็จัดอยู่ในภาษาถิ่นนั้น ๆ

[แก้ไข] ความหมายของภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น คือ คำที่ใช้เรียกภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆ กัน โดยมียังคงมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของภาษานั้น เช่น ภาษาไทย มีภาษาถิ่นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้ ภาษาถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง หรือถิ่นกลาง เป็นต้น โดยทุกภาษาถิ่นยังคงใช้คำศัพท์ ไวยากรณ์ ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ เป็นต้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้าง ก็จะมีภาษาถิ่นที่หลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อยๆ ลงไปอีก ทั้งนี้ภาษาถิ่นแต่ละถิ่น จะมีเอกลักษณ์ทางภาษาของตนด้วย ภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูด หรือภาษาท่าทาง มากกว่า

[แก้ไข] การกำหนดภาษาถิ่น


การกำหนดภาษาหลัก หรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาว ถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา

แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก

ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสงคมหนึ่งๆ

ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)
ภาษาเฉพาะกลุ่ม
ภาษาสแลง
หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้น

[แก้ไข] ประเภทของภาษาถิ่น
การแบ่งภาษาถิ่นที่ใช้พูดกันในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศไทยนั้น ถ้าแบ่งตามความแตกต่างของภูมิศาสตร์ หรือท้องที่ที่ผู้พูดภาษานั้น ๆ อาศัยอยู่ อาจแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

[แก้ไข] ภาษาถิ่นกลาง
นอกจากภาษาราชการของชาวกรุงเทพฯ แล้ว เรายังสามารถได้ยินสำเนียงภาษาเหน่อของคนจังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรีด้วย

[แก้ไข] ภาษาถิ่นเหนือ
เป็นภาษาที่มีสำเนียงการออกเสียงที่โดดเด่นน่ารักไม่เหมือนใคร เช่น คำว่า เดิ๋ก แปลว่า ดึก, ปวดต้อง แปลว่า ปวดท้อง, วันพู่ก หมายถึง พรุ่งนี้, ตี๋น หมายถึง เท้า และมักลงท้ายประโยคพูดอย่างอ่อนหวานด้วยคำว่า “เจ้า”

[แก้ไข] ภาษาถิ่นอีสาน
ก็มักเป็นคำหรือสำเนียงที่เราได้ยินคุ้นหู เช่นคำว่า ไปบ่ แปลว่า ไปหรือเปล่า, ชั่วโมง พูดว่า ซัวโมง, ข้างแรมพูดว่า เดือนดั๋บ ฯลฯ

[แก้ไข] ภาษาถิ่นใต้
มักจะเป็นคำพูดห้วน ๆ สั้น ๆ เช่น คำว่า ตะกร้า พูดว่า กร้า, กระทะ พูดว่า ทะ, ถังน้ำ พูดว่า ทุงน้ำ, เมษายน พูดว่า เมษรา, วันพฤหัสบดี พูดว่า วันหัด เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นเฉพาะจังหวัด เช่น ที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด มักมีคำสร้อยลงท้ายประโยคว่า “ฮิ” เช่น ละครเรื่องนี้ใครเป็นนางเอกฮิ หรือ ก็มันไม่ชอบฮิ และภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรีหรือภาษาเมืองเพชร ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่มีสำเนียงเพี้ยนออกไปจากภาษาภาคกลาง กรุงเทพฯ โดยสำเนียงชาวเพชรบุรี จะมีลักษณะ เฉพาะตัวเป็นสำเนียงที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ หากจะฟังสำเนียงชาวเพชรบุรีแท้ ๆ จะอยู่ในเขตอำเภอบ้านลาด และอำเภอใกล้เคียง

รูปแบบประโยคของภาษาเมืองเพชรมีลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะการปฏิเสธจะใช้คำว่า “ไม่” ตาม หลังคำกริยา และเปลี่ยนระดับเสียงคำกริยา เช่น กิ๊นไม่ (ไม่กิน) เอ๊าไม่ (ไม่เอา) มี้ไม่ (ไม่มี) ป๊วดไม่ (ไม่ปวด) นอกจากนี้ สำเนียงการออกเสียงสระยังมีลักษณะเฉพาะตัว เช่น คำว่า น้ำ ออกเสียงสั้นตามสระ-ำ ไม่นิยมออกเสียงยาวเป็น “น้าม” เหมือนคนกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่นิยมใช้กันในท้องถิ่นเพชรบุรีโดยเฉพาะ อาทิ คำว่า แมลงปอ พูดว่า แมงกระทุย แมงกระชุน, ชาม กะละมัง เรียกว่า ชาม กะละแม็ง, กะล่อน ชาวเพชรบุรีบางถิ่นออกเสียงควบกล้ำเป็น กล้อน” ไม่แยกพยางค์ ฯลฯ

ในปัจจุบันสำเนียงเพชรได้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง เพราะมีการติดต่อกับผู้คนที่เดินทางผ่านหรือมาท่องเที่ยว รวมทั้งระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน หากต้องการฟังสำเนียงเพชรแท้ ๆ ต้องไปฟังแถวชนบท

[แก้ไข] สาเหตุการเกิดภาษาถิ่น




สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาษาถิ่นต่าง ๆ หรือภาษาถิ่นย่อยมานั้น เรืองเดช ปันเขื่อนขัตย์ ได้ให้เหตุผลใหญ่ ๆ อยู่ 3 ประการคือ

[แก้ไข] ภูมิศาสตร์อยู่คนละท้องถิ่น
ขาดการไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันเป็นเวลานาน หลายชั่วอายุคน ถ้าต่างถิ่นต่างไม่ไปมาหาสู่กันเป็นเวลานาน ๆ ทำให้กลุ่มชนชาติไทย รวมทั้งภาษาของกลุ่มเขาเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นภาษาถิ่นอื่น ๆ ซึ่งไม่เหมือนกันกับภาษาดั้งเดิมในที่สุด

[แก้ไข] กาลเวลาที่ผ่านไปจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง
ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและตามเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลง คำศัพท์ที่เรียกยากกว่าไปเรียกคำศัพท์ที่เรียกง่ายกว่ากะทัดรัดกว่า

[แก้ไข] อิทธิพลของภาษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียง
ซึ่งเป็นชนหมู่มากมีอิทธิพลกว่ามีการยืม คำศัพท์จากภาษาที่มีอิทธิพลกว่า

[แก้ไข] ความแตกต่างระหว่างภาษาไทยถิ่น
ภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ นั้น นอกจากจะมีลักษณะเหมือนกันแล้ว ยังมีความแตกต่างเกิดขึ้นระหว่างภาษาไทยถิ่นในเรื่องต่อไปนี้

1. ลักษณะการออกเสียงแตกต่างกัน เช่น เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่างเช่น เสียงวรรณยุกต์กลาง-ขึ้น ( Mid rising tone) มีในภาษาถิ่นอีสาน แต่ภาษาไทยมาตรฐานไม่มีและหน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ไม่มีภาษาถิ่นอีสาน แต่ในภาษาไทยมาตรฐาน มีทั้ง 12 หน่วยเสียง เป็นต้น

2. ระบบคำแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะแตกต่างเกี่ยวกับเรื่องคำศัพท์ เช่น

2.1 คำลงท้าย ประโยคหรือวลี ใช้เฉพาะถิ่น

ภาษาไทยมาตรฐาน ใช้ สิ นะ คะ ครับ
ภาษาถิ่นใต้ ใช้ หา เล่า ตะ เหอ
ภาษาถิ่นอีสาน ใช้ เด้อ นอ แน แม
ภาษาถิ่นเหนือ ใช้ เจ้า กอ อื่อ กา
2.2 คำศัพท์แตกต่างกัน






2.3 ความหมายแตกต่างกัน เช่น






3. ระบบการสร้างคำ หรือไวยากรณ์ แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะพบว่ามีการเรียงลำดับสลับกัน เช่น

ภาษาถิ่นอีสานใช้ ตำส้ม ภาษาไทยมาตรฐานใช้ส้มตำ
ภาษาถิ่นใต้ใช้ พ่อหลวง, พี่หลวง ภาษาไทยมาตรฐาน หลวงพ่อ, หลวงพี่
ภาษาถิ่นเหนือใช้ น้ำบ่อ ภาษาไทยมาตรฐานใช้ บ่อน้ำ
[แก้ไข] มนต์เสน่ห์ของภาษาถิ่น


เสน่ห์ที่สำคัญของภาษาถิ่น นอกจากจะใช้สื่อความหมายกับบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันให้เข้าใจตรงกันแล้ว ภาษาถิ่นยังมีความโดดเด่นในการช่วยรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นนั้น ๆ ไว้ด้วย อาทิ การแสดงโนราห์ของภาคใต้ ที่ต้องใช้ภาษาถิ่นใต้ ถ้าเราใช้ภาษาถิ่นอื่น หรือภาษากรุงเทพฯ ก็จะไม่สื่อ หมดอรรถรสโดยสิ้นเชิง

การศึกษาและเรียนรู้ภาษาถิ่นนั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยนอกจากทำให้เราได้สัมผัสกับความงดงามของภาษาถิ่นในแต่ละท้องถิ่นแล้ว การที่เรารู้และเข้าใจภาษาถิ่น ยังช่วยทำให้เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันของแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ โดยปริยาย และที่สำคัญยังทำให้ผู้รู้ภาษาถิ่นนั้นสามารถอ่านศิลาจารึกสมัยก่อนซึ่งมักมีภาษาถิ่นเขียนไว้ได้อย่างคล่องแคล่ว

[แก้ไข] ประโยชน์ในการศึกษาภาษาไทยถิ่น
เกิดความเข้าใจในเรื่องของภาษาว่าภาษาในโลกนี้ นอกจากจะมีหลายตระกูลแล้ว ในตระกูล หนึ่ง ๆ ยังมีภาษาย่อยอีกหลายภาษา
เข้าใจความเป็นมาของภาษา และซาบซึ้งในวัฒนธรรมในการใช้ภาษาและเห็นความสำคัญ ของภาษาไทยถิ่นนั้น ๆ
เข้าใจในเรื่องการกลายเสียงและความหมายของคำ ในภาษาไทยถิ่นหนึ่ง อาจเห็นการใช้คำบางคำบางถิ่นฟังแล้วอาจถือว่าเป็นคำหยาบแต่ความหมายไม่ใช่อย่างที่เข้าใจ เป็นต้น
เป็นแนวทางในการเรียนรู้วิธีการ และวิเคราะห์ภาษาในระบบต่าง ๆ เช่น เสียงพยัญชนะเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และอื่น ๆ
เป็นประโยชน์ในการสอนภาษาแก่เด็กนักเรียนที่พูดภาษาถิ่นและแก้ไขปัญหา เด็กนักเรียน ที่ออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด พร้อมนำความรู้ไปแก้ปัญหาในการเรียนการสอนภาษาไทยแก่เด็กนักเรียน

ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นิทานเวตาล ตอนที่ ๓

นิทานเวตาล เรื่องที่ 3 ( คนอ่าน 33806 คน) ( คนแสดงความเห็น 93 คน)

พระวีรกษัตริย์ตริวิกรมเสนเสด็จกลับไปที่ต้นอโศกอีกครั้งหนึ่งเพื่อจับตัวเวตาลเอามา ณ ที่นั้นได้แลเห็นซากศพที่มันสิงอยู่ห้องหัวบนกิ่งอโศก จึงปีนขึ้นไปจับตัวมันพาดไหล่ แล้วเสด็จกลับไปตามทางเดิม ระหว่างทางอันเงียบสงัด เวตาลได้ถือโอกาสกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่วิศามบดี" ข้ารู้สึกประหลาดใจมากที่แลเห็นพระองค์สู้ทนความลำบากเสด็จกลับไปมากลับมาหลายเที่ยว เพื่อจะทำธุระให้แก่คนอื่นโดยใช่เหตุ ข้าจึงคิดว่าจะเล่านิทานสนุก ๆ สักเรื่องหนึ่งถวาย เพื่อเป็นเครื่องปลอบพระทัย ขอทรงฟังเถิด"

แต่ปางบรรพ์มีพระนครอันใหญ่และสวยงามชื่อปาฏลีบุตร มีพระมหากษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงนามว่าพระเจ้าวิกรมเกศริน ซึ่งทรงมีคุณธรรมอันไพศาล พอ ๆ กับท้องพระคลังของพระองค์ซึ่งอุดมด้วยมณีรัตนนับไม่ถ้วน พระองค์มีนกแก้วตัวหนึ่ง ซึ่งมีความเฉลียวฉลาดอย่างอัศจรรย์ราวกับเทพยดาเข้าดลใจแลมีความชำนิชำนาญในศาสตร์ทั้งปวง เหตุที่มันต้องมาเกิดเป็นนกในชาตินี้ก็เพราะมันถูกสาปด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นกแก้วตัวนี้มีชื่อว่าวิทัคธจูฑามณี มันได้ทูลแนะนำพระองค์ให้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงผู้ทรงศักดิ์แห่งแคว้นมคธชื่อจันทรประภา เจ้าหญิงเองก็ทรงเลี้ยงนกไว้เป็นคู่พระทัยตัวหนึ่งเป็นนกขุนทองตัวเมียมีชื่อว่า โสมิกา เป็นนกที่เจนจบในวิชาการต่าง ๆ ทั้งนกแก้วและนกขุนทองถูกเลี้ยงไว้ในกรงทองกรงเดียวกันราวกับเป็นคู่ผัวเมียฉะนั้น


วันหนึ่งนกแก้วเกิดความกำหนัดในนางนกโสมิกาจึงกล่าวแก่นางว่า "มาแต่งงานกับข้าเถิด เจ้ารูปงาม ไหน ๆ เราก็หลับนอนและได้รับการเลี้ยงดูในกรงเดียวกันแล้ว"


นางนกขุนทองได้ฟังก็ตอบว่า "อย่าเลย ข้าไม่เคยพิศวาสในผู้ชายหน้าไหนทั้งนั้น เพราะขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วล้วนแต่ชั่วช้าและใจร้าย" ทั้งสองต่างก็โต้เถียงกันอย่างไม่ลดละ ในที่สุดเกิดท้าทายและพนันกันว่า ถ้านกแก้วชนะจะได้นกขุนทองเป็นเมีย และถ้านางนกขุนทองชนะ นกแก้วจะต้องกลายเป็นทาสของนางตลอดไป เมื่อตกลงกันดังนี้แล้วก็พากันไปเฝ้าเจ้าชาย ทูลเรื่องให้ฟังและขอให้ตัดสินอย่างยุติธรรม ขณะนั้นเจ้าชายประทับอยู่ในท้องพระโรงธารกำนัลของพระราชบิดา เมื่อได้ฟังคดีวิวาทของนกทั้งสอง จึงตรัสแก่นางนกโสมิกาว่า


"เจ้าจงเล่าให้ข้าฟังสิว่า เหตุใดจึงว่าผู้ชายเป็นคนอกตัญญู"


นางนกได้ฟังดังนั้นก็กล่าวว่า "ขอทรงฟังเถิด" แล้วก็ลงมือเล่าเรื่องประกอบข้อกล่าวหาของตนดังต่อไปนี้


(เรื่องแทรกของนางนกโสมิกา)


พระเจ้าข้า ในสมัยโบราณมีพระนครชื่อ กามันทกี ในเมืองนี้มีพ่อค้าคนหนึ่งร่ำรวยมาก มีชื่อว่า อรรถทัตต์ พ่อค้ามีลูกชายอยู่เพียงคนเดียวชื่อ ธนทัตต์ เมื่อไวศยะผู้เศรษฐีถึงแก่กรรมลง ลูกขายก็ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ผลาญทรัพย์ที่มีอยู่แม้มากมายมหาศาลให้หดเหี้ยนไป ธนทัตต์คบเพื่อนที่ล้วนแต่ชั่วช้าเลวทราม ซึ่งคนชั่วเหล่านี้ได้ชักจูงให้เขาประพฤติชั่วต่าง ๆ มีการเล่นการพนันและอื่น ๆ ต่อมามิช้าทรัพย์สมบัติก็มลายไปหมด ชายหนุ่มมีความละอายที่กลายเป็นคนยากจนเพราะรักษาสมบัติของตัวเองไม่ได้ จึงละถิ่นฐานบ้านเรือนออกตุหรัดตุเหร่ไปในดินแดนต่าง ๆ


ในระหว่างทางที่ผ่านไป ชายหนุ่มมาถึงเมืองแห่งหนึ่ง ชื่อจันทนปุระ และบังเกิดความหิวโหยเหนื่อยล้าเป็นอย่างยิ่ง จึงเข้าไปในบ้านนายวาณิชผู้หนึ่งเพื่อขออาหารกิน และราวกับโชคบันดาลให้เป็นไป เผอิญพ่อค้าผู้นั้นไม่มีบุตรชายและเห็นธนทัตต์เป็นชายหนุ่มรูปงามท่าทางเป็นผู้ดีมีสกุล ก็บังเกิดความสนใจ จึงไต่ถามเรื่องราวความเป็นมาของเขา เมื่อได้ทราบว่าเป็นไวศยะเหมือนกับตน นายวาณิชผู้เฒ่าก็รู้สึกยินดีจึงรับชายหนุ่มไว้เป็นบุตรบุญธรรม และยกธิดาชื่อรัตนวลีให้เป็นภรรยาอีกด้วย ธนทัตต์ก็อยู่บ้านพ่อตามีความสุขสำราญตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


กาลเวลาผ่านไป ธนทัตต์ผู้อยู่บ้านพ่อตาอย่างสุขสบาย มีเงินจับจ่ายใช้สอยไม่ขาดมือก็เกิดความดิ้นรนขึ้นมาอีก คิดจะกลับบ้านเดิมเพื่อจะเอาทรัพย์ไปเล่นการพนันให้สนุกตื่นเต้นตามนิสัยสันดานเดิมของตนซึ่งอดไม่ได้ จึงขออนุญาตพ่อตาเดินทางกลับบ้านเดิมและพาภรรยาไปด้วย นายวาณิชเฒ่ามีบุตรสาวเพียงคนเดียวก็มีความอาลัยไม่อยากจะให้ไป แต่เมื่อขัดไม่ได้ก็จำใจต้องให้ตามสามีไป นางแต่งเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ไปเต็มที่ มีพี่เลี้ยงเฒ่าติดตามไปเป็นเพื่อน ทั้งสามคนก็ออกเดินทางไป หลังจากที่เดินมาพักใหญ่ถึงป่าเปลี่ยว ซึ่งน่าจะเป็นที่อยู่ของพวกโจร ขายหนุ่มจึงกล่าวแก่นางผู้ภรรยาว่า เพื่อความปลอดภัยขอให้นางถอดเครื่องประดับมามอบให้ตนดูแล เพราะถิ่นนี้เป็นถิ่นโจร เมื่อได้รัตนาภรณ์อันมีค่ามาแล้ว ชายชั่วก็เก็บเข้ารวมกับห่อสมบัติของตนอนิจจาเอ๋ย ขอให้ตรองดูเดิดว่าเจ้าผัวจำแลงนี้มันชั่วชาติเพียงไร มันติดการพนันจนโงหัวไม่ขึ้น คนอย่างนี้ใจแข็งและคมกริบเหมือนดาบ


เจ้าโจรใจฉกาจเมื่อหลอกได้ทรัพย์ของภรรยาแล้ว ก็คิดจะฆ่านางเสียเพื่อปิดปาก จึงผลักนางกับแม่เฒ่าลงไปอยู่ในเหวแล้วรีบเดินทางต่อไป หญิงชรานั้นตายในเหวแต่นางบุตรสาวเศรษฐีหาได้ตายไม่ เพราะเมื่อตกลงไปในเหวนั้น เผอิญนางตกลงไปบนซุ้มไม้เลื้อยที่เกี่ยวพันกันราวกับลงไปอยู่ในตาข่าย นางจึงรอดชีวิตไป นางค่อยไต่เชิงเถาวัลย์ขึ้นมาจนถึงปากเหว มีความรู้สึกเหนื่อยอ่อนแทบจะขาดใจ นางค่อยลัดเลามาจนถึงทางที่นางผ่านมา และล้มลุกคุกคลาน โซซัดโซเซมาตามทางจนในที่สุดกลับมาถึงบ้านโดยปลอดภัย แต่ร่างกายของนางฟกช้ำดำเขียวเจ็บระบมไปหมด เมื่อนางกลับมาถึงบ้าน บิดามารดาของนางตกใจมาก ไต่ถามสาเหตุด้วยความสงสัย นางผู้มีคุณธรรรมจึงกลับเรื่องเสียใหม่โดยกล่าวแก่บิดามารดาว่า


"พวกเราถูกโจรปล้นระหว่างทาง สามีของลูกถูกโจรมันจับมัดลากเอาตัวไป ยังไม่รู้ชะตากรรมเลย แม่เฒ่าถูกฆ่าตาย แต่ลูกรอดชีวิตมาได้เพราะเมื่อถูกเหวี่ยงลงเหวนั้น เผอิญตกไปค้างอยู่บนซุ้มไม้เลื้อยจึงไต่ขึ้นมาได้ ถึงปากเหวก็สลบเหมือด แต่นักเดินทางกลุ่มหนึ่งช่วยเอาไว้ โชคยังดีอยู่จึงกลับมาถึงบ้านได้"


เมื่อนางรัตนาวลีเล่าเรื่องจบ เศรษฐีผู้เป็นบิดาและมารดาก็กล่าวปลอบโยนนางต่าง ๆ มิให้เสียใจในเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะการที่นางเอาชีวติรอดมาได้ก็นับว่าโชคช่วยอย่างมากแล้ว นางอยู่ในบ้านพ่อแม่เรื่อยมา แต่ไม่มีความสุขนักเพราะเฝ้าแต่คิดถึงสามีอันเป็นที่รักไม่เว้นวาย


ฝ่ายธนทัตต์ผู้สามีซึ่งเดินทางกลับไปเมืองที่ตนเคยอาศัยอยู่พร้อมด้วยทรัพย์สินของภรรยานั้น ต่อมามิช้าเขาก็ถลุงเงินจนหมดเกลี้ยงด้วยการเล่นการพนันอย่างหามรุ่งหามค่ำ และปรนเปรอตัวเองด้วยของกินชนิดเลิศและสุรานารีไม่เว้นแต่ละวัน เมื่อเงินหมดก็คิดหาทางที่จะแสวงหาอีก โดยมีความคิดว่า "เราจะกลับไปบ้านพ่อตา อ้อนวอนขอเงินเขามาสัก้อนหนึ่งเอาไปทำทุน เราจะบอกแก่เขาว่า ลูกสาวของเขายังพักอยู่ที่บ้านของเรา มิได้เอามาด้วย" เมื่อทำกำหนดแผนการเรียบร้อยแล้ว ชายหนุ่มก็เดินทางไปที่บ้านพ่อตา พอเข้าประตูบ้านภรรยาของเขาแลเห็นแต่ไกลก็ดีใจ วิ่งมาต้อนรับและทรุดตัวลงคารวะอย่างนอบน้อม ทั้งที่รู้อยู่ว่าเขาเป็นโจรใจอำมหิต ความจริงก็เป็นดังนี้แหละ ผู้หญิงดีนั้นแม้ผัวจะชั่วชาติสักปานใด นางก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเคารพรัก ที่นางมีต่อเขา เมื่อเห็นนางวิ่งเข้ามหาโดยไม่คาดฝัน ชายหนุ่มก็ตกใจแทบสิ้นสติ แต่นางก็กล่าวปลอบโยนเขาให้คลายใจ โดยกล่าววว่า นางได้สร้างเรื่องโกหกแก่บิดมารดาของนางว่า นางถูกโจรปล้นจับเอาตัวสามีไปและผลักนางตกเหว แต่นางเอาชีวิตรอดมาได้และยังไม่รู้ชะตากรรมของสามีว่าเป็นอย่างไร เมื่อชายหนุ่มได้ฟังก็หายวิตก เข้าไปสู่บ้านพ่อตาแม่ยายของตนพร้อมด้วยภรรยา ข้างพ่อตาแม่ยายแลเห็นเข้า ก็ดีอกดีใจที่ลูกเขยกลับมาได้ จึงเรียกประชุมญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงจัดการฉลองอย่างใหญ่โตเป็นการรับขวัญลูกเขย และประกาศว่า "ช่างน่ายินดีนี่กระไรที่ลูกเขยของเราถูกโจรจับไปแต่หนีรอดมาได้ในที่สุด"


หลังจากนั้นธนทัตต์ก็อาศัยอยู่กับนางรัตนาวลีในบ้านพ่อตาแม่ยายด้วยความสุข มีเงินทองใช้อย่างอุดมสมบูรณ์ แต่เจ้าประคุณเอ๋ย คืนหนึ่งอ้ายคนชั่วเห็นได้โอกาสก็แอบฆ่าภรรยาของตนตอนที่นางหลับอยู่ กวาดเอาทรัพย์สินและของมีค่าต่าง ๆ หนีกลับไปสู่ถิ่นเดิมของตน มีชีวิตอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ ไม่มีใครได้ข่าวคราวอีกนับแต่นั้น


"ฉะนั้นเราอาจจะกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า ผู้ชายมันก็ชั่วเหมือนกันทั้งโลกนั่นแหละ" นางนกขุนทองสรุปทิ้งท้ายอย่างแค้นเคือง


พระราชาจึงหันมาตรัสแก่นกแก้วว่า "คราวนี้ถึงทีเจ้าแล้วละ มีอะไรจะเถียงไหม"


นกแก้วได้ยินก็กล่าวว่า "โอ เทวะ ขึ้นขื่อว่าผู้หญิงแล้ว ล้วนมีจริตเหลือที่จะทนทาน เป็นคนทุศีล และชั่วช้าสามานย์เหมือนกันหมด ขอได้โปรดสดับเรื่องราวที่ข้าพระบาทจะเล่าถวายดังต่อไปนี้"


(เรื่องแทรกของนกแก้ว วิทัคธจูฑามณี)


มีนครหนึ่งชื่อหรรษวดี ในนครนี้มีไวศยะที่มีชื่อเสียงเลื่องลือคนหนึ่งมีชื่อว่า ธรรมทัตต์ มีทรัพย์หลายสิบโกฏิ พ่อค้าผู้นี้มีธิดาคนหนึ่งชื่อ วสุทัตตา มีความงามหาที่เปรียบมิได้ เป็นที่รักของบิดาปานชีวิต ต่อมาเศรษฐีจัดการแต่งนางกับพ่อค้าหนุ่มผู้มั่งคั่งชื่อ สมุทรทัตต์ ซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกันทั้งทรัพย์สมบัติและรูปสมบัติอันงามพร้อม เป็นที่ต้องตาของสตรีทั้งหลายซึ่งทอดสายตาให้ด้วยความหลงใหลราวกับนกจโกระที่คลั่งไคล้ต่อแสงจันทร์ฉะนั้น ไวศยะหนุ่มผู้นี้มาจากเมืองตามรลิปติ ซึ่งเป็นแหล่งของคนดีมีเกียรติยศทั้งหลาย


ครั้งหนึ่งนางวสุทัตตตาพักอยู่ที่บ้านพ่อของนางในขณะที่สามีกลับไปทำธุรกิจในแว่นแคว้นของตน นางแลเห็นชายหนุ่มผู้หนึ่งเดินทางมาแต่ระยะไกล ชายผู้นั้นมีความงดงามมาก บังเกิดความพิศวาสหลงใหลด้วยอำนาจของมาร (ผู้เฒ่า เป็นฉายานามของกามเทพ) จึงแอบเชื้อเชิญเขาอย่างลับ ๆ และทำเขาให้เป็นชู้ของนาง หลังจากนั้นนางก็แอบมาพบเขาทุก ๆ คืน มีความคลั่งไคล้แต่ชายชู้ผู้เดียวโดยมิเสื่อมคลาย


ครั้นแล้ววันหนึ่ง สามีของนางก็กลับมาจากเมืองของเขา การปรากฏตัวของเขายังความปลาบปลื้มแก่บิดามารดาของนางอย่างยิ่ง ต่างก็ต้อนรับเขาอย่างกุลีกุจอ ในวันแห่งความรื่นรมย์นั้น แทนที่นางจะสดชื่นรื่นเริง กลับไม่พูดอะไรกับสามีเลย และเมื่ออยู่สองต่อสองกับนาง นางก็แกล้งทำเป็นหลับ ไม่ไยดีต่อสามี ในใจนางมีแต่ความโหยไห้คิดถึงแต่หนุ่มชายชู้เท่านั้น ส่วนสามีของนางมึนเมาไม่ได้สติเพราะเสพสุรา ประกอบกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเพราะการเดินทางมาตลอดวันทำให้เขาม่อยหลับไป


ขณะนั้นมีโจรคนหนึ่งแอบเจาะช่องกำแพงเล็ดลอดเข้ามาในบ้าน ประจวบกับนางวสุทัตตาลุกขึ้นจากเตียง แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าอันงดงาม ประดับดัวยรัตนาภรณ์แพรวพราวระยับเดินออกมาจากห้องนอนโดยไม่ทันเห็นโจร มุ่งหน้าออกไปยังสถานที่ที่นางนัดไว้กับชายชู้ เมื่อโจรแลเห็นนางรีบลุกลี้ลุกลนออกไปก็สงสัย กล่าวแก่ตนเองว่า "นางผู้นี้ออกไปจากห้องในเวลาดึกดื่นเที่ยงคืนแต่งตัวงดงามด้วยปิลันธนาภรณ์อันมีค่าซึ่งเราตั้งใจจะเข้ามาขโมยพอดี ดีละเราจะสะกดรอยดูว่านางจะไปไหน" เมื่อโจรตั้งใจดังนี้แล้วก็แอบออกไปจากห้องติดตามนางวสุทัตตาไปโดยมิให้คลาดสายตา และนางไม่ทันสังเกต


นางวสุทัตตาถือช่อดอกไม้และของขวัญอันมีค่าเดินออกจากบ้านไป มีโจรติดตามไปอย่างลับ ๆ เข้าไปสู่อุทยานแห่งหนึ่งนอกพระนครออกไปไม่ไกลนัก ที่อุทยานั้นเอง นางได้เห็นชู้รักของนางถูกแขวนคอห้อยอยู่กับกิ่งไม้ด้วยเชือกเส้นหนึ่ง เนื่องจากราชบุรุษ(ตำรวจ) มาพบเขาด้อม ๆ มอง ๆ อยู่ในสวนในเวลากลางคืน จึงจับเขาแขวนคอเป็นการลงทัณฑ์เพราะคิดว่าเขาเป็นขโมย นางซวนกายผงะหงายด้วยความตกใจแทบสิ้นสติ ร้องออกมาว่า "ฉิบหายแล้วเรา" พร้อมกับทรุดกายลงนั่งกับพื้นดินร่ำไห้ด้วยความรักและเสียดาย


เมื่อค่อยสร่างโศกได้สติขึ้นนางจึงปีนขึ้นไปบนกิ่งไม้ แก้เชือกออกปล่อยร่างชู้รักลงไปบนพื้น แล้วลงมายกศพของเขาขึ้นวางในท่านั่งแล้วลูบไล้ร่างกายของเขาด้วยวิเลปนะของหอม และประดับด้วยบุปผามาลัยอันวิจิตร และถึงแม้ร่างของเขาจะปราศจากชีวิตแล้ว นางก็ยังโอบกอดเขาไว้ด้วยความเสน่หา ร่ำไห้เหมือนใจจะขาด และในความโศกรันทดนั้นเอง นางจับหน้าของเขาให้เงยขึ้นและประจงจูบอย่างทะนุถนอม ขณะนั้นเวตาลเข้าสิงศพอยู่ เห็นนางยื่นหน้าเข้ามาใกล้ก็กัดจมูกนางในทันที นางวสุทัตตาตกใจรีบผละหนีไป แต่แล้วก็เกิดความงุนงงจับต้นชนปลายไม่ถูก จึงเดินกลับมาใหม่เพื่อจะดูให้แน่ว่าชู้รักของนางยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า ครั้นเห็นเวตาลละร่างไปแล้ว และร่างนั้นตายสนิทเคลื่อนไหวต่อไปอีกไม่ได้ นางก็ผละจากศพนั้นเดินทางกลับไปบ้าน ร้องไห้ด้วยความกลัวและอัปยศอดสู


ระหว่างนั้นโจรซึ่งแฝงกายแอบดูอยู่ ได้เห็นเหตุการณ์โดยตลอดก็กล่าวแก่ตัวเองว่า


"นางหญิงชั่วมาทำอะไรที่นี่ อนิจจา จิตใจของผู้หญิงนี้ช่างน่ากลัวและดำราวกับความมืดของบ่อน้ำลึกสุดหยั่งที่ใครตกลงไปแล้วไม่มีวันจะได้กลับขึ้นมาได้อีก เราสงสัยนักว่านางจะทำอย่างไรนับแต่นี้"


หลังจากรำพึงดังนี้แล้ว โจรก็แอบย่องตามนางกลับไปทางเดิมด้วยความพิศวงว่านางจะแก้สถานการณ์ด้วยวิธีใด


นางวสุทัตตากลับไปถึงบ้านก็ตรงเข้าไปในห้องนอน เห็นสามียังหลับอยู่ก็ทำตีอกชกหัวร้องไห้ร้องห่ม แผดเสียงว่า "ช่วยด้วย ช่วยด้วย ไอ้คนชาติชั่วผัวเลวทรามมันกัดจมกูข้าขาดแล้ว ข้าไม่ได้ทำความผิดอะไรแม้แต่สักนิด" ฝ่ายสามีของนางพร้อมด้วยพ่อตาและบรรดาคนใช้ได้ยินเสียงนางร้องตะโกนดังนั้น ต่างตกใจตื่นและวิ่งกรูกันมาด้วยท่าทางตื่นเต้น บิดานางวสุทัตตาแลเห็นลูกสาวของนางที่ถูกกัดมาใหม่ ๆ ก็ปักใจเชื่อว่าเป็นการกระทำของลูกเขยตน จึงให้บ่าวไพร่ช่วยกันจับตัวมัดและกล่าวหาว่าชายผู้เคราะห์ร้ายเป็นคนทำร้ายธิดาของตน ฝ่ายสมุทรทัตต์ถึงแม้จะถูกมัดและถูกกล่าวหาดังนั้นก็ยังคงนิ่งเฉยมิได้ตอบโต้แต่ประการใด ราวกับเป็นใบ้ พ่อตาและคนอื่น ๆ ต่างก็หันหลังให้แก่เขาด้วยความชิงชัง


เมื่อนายโจรได้เห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเช่นนั้นก็ค่อย ๆ เลี่ยงหลบไปเงียบ ๆ และเมื่อคืนแห่งความโกลาหลดังกล่าวได้ผ่านไปแล้ว ถึงเวลาเช้าบุตรไวศยะก็ถูกลากตัวไปเฝ้าพระราชาพร้อมด้วยนางผู้ภรรยาซึ่งมีจมูกโหว่เพราะถูกกัด เมื่อพระราชาได้ฟังเรื่องราวฟ้องร้องดังนั้น มิทันได้พิจารณาโดยรอบคอบก็สั่งให้เพชฌฆาตนำตัวบุตรพ่อค้าไปประหารในข้อหาว่า ทำร้ายภรรยาของตนให้พิการ ทั้งนี้โดยมิฟังข้อแก้ตัวใด ๆ เลย ขณะที่ชายหนุ่มถูกนำตัวไปยังตะแลงแกงเพื่อประหารชีวิต และกลองตีรัวเป็นสัญญาณนั้น ก็มีโจรผู้หนึ่งปรากฏตัวขึ้นและกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ผู้เป็นราชบุรุษว่า "ท่านไม่ควรจะประหารชายผู้นี้เพราะเขามิได้กระทำผิดเลยสักนิด ข้าเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์โดยตลอดแต่ผู้เดียว พาข้าไปเฝ้าพระราชาโดยเร็วเถิดเพื่อจะได้ทูลความจริงให้ทรงทราบ"


เมื่อได้ยินโจรเล่าวดังนั้น บรรดาราชบุรุษก็พาโจรไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับราชานุญาตแล้ว โจรก็กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบโดยตลอดตั้งแต่ต้น และกล่าวเสริมว่า "ถ้าพระองค์ไม่เชื่อข้าพระบาทก็โปรดทอดพระเนตรจมูกของผู้หญิงคนนี้ในปากของศพชายชู้ของนางเถิด"


พระราชาได้ฟังดังนั้นก็ส่งราชบุรุษไปดูสถานที่เกิดเหตุก็ได้ทราบความจริงจึงกลับคำพิพากษาให้งดโทษประหาร แต่สั่งให้เนรเทศหญิงชั่วไปให้พ้นแว่นแคว้น พร้อมกับตัดใบหูเสียงทั้งสองข้าง ยิ่งกว่านั้นยังโปรดให้ริบทรัพย์ของผู้เป็นบิดานางเสีย และสำหรับนายโจรนั้น พระราชาทรงโปรดปรานว่าเป็นคนเฉลียวฉลาดและกล้าหาญจึงตั้งให้เป็นหัวหน้าตุลาการของพระนคร


"ได้โปรดเกล้า ทรงเห็นหรือยังว่าผู้หญิงนั้นโดยธรรมชาติเป็นคนชั่วร้ายและเจ้าเล่ห์แสนกลเพียงใด" นกแก้วกล่าวสรุปในที่สุด


พอเล่าเรื่องจบลง นกแก้วก็พ้นจากคำสาปของพระอินทร์ กลายร่างเป็นคนธรรพ์รูปงามชื่อ จิตรรถ เหาะไปสู่สรวงสวรรค์ ขณะเดียวกันคำสาปของนางนกขุนทองก็เสื่อมลง นางนกโสมิกาก็กลายร่างเป็นนางเทพอัปสรชื่อ ติโลตตมา กลับคืนไปถวายการบำเรอท้าววัชรินทร์ในสวรรค์เช่นเดิม อย่างไรก็ดี กรณีพิพาทของนกทั้งสองก็ยังไม่ได้ตัดสินในท้องพระโรง


 



เมื่อเวตาลเล่าเรื่องจบลง ก็กล่าวแก่พระราชาว่า "ขอพระองค์โปรดทรงวินิจฉัยด้วยเถิดว่า ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงพูดถูก ถ้าพระองค์ทราบแล้วมิแสดงความเห็น พระเศียรของพระองค์ก็จะต้องแตกเป็นเสี่ยง ๆ โดยพลัน"


ฝ่ายพระราชาเมื่อถูกเวตาลซึ่งห้อยอยู่บนบ่ากล่าวถ้อยคำดังนั้นก็ตรัสว่า "นางจอมมายาหญิงในเรื่องของนกแก้วนั่นแหละเป็นหญิงที่ชั่วช้าที่สุด เพราะว่าผู้ชายอาจจะหลงทำผิดได้ชั่วครั้งหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ผู้หญิงนั้นว่าโดยความจริงเป็นคนชั่วในทุกโอกาส"


เมื่อพระเจ้าแผ่นดินตรัสดังนี้ เวตาลก็หลุดลอยหนีไปจากพระอังสาของพระองค์ กลับไปยังที่เดิม และพระราชาก็ต้องเสด็จย้อนไปทางเดิมเพื่อไปจับตัวเวตาลกลับมาใหม่

ที่มา http://www.lokwannakadi.com/

นิทานเวตาล ตอนที่ ๒

นิทานเวตาล เรื่องที่ 2 ( คนอ่าน 36186 คน) ( คนแสดงความเห็น 123 คน)

พระราชาตริวิกรมเสนเสด็จกลับไปที่ต้นอโศกอีกครั้งหนึ่งเพื่อจับตัวเวตาล เมื่อเสด็จไปถึงที่นั้น ทรงสอดส่ายพระเนตรดูโดยรอบในความมืดอันมีแสงไฟเรือง ๆ จากจิตกาธานส่องมา ในที่สุดก็พบศพนั้นนอนหงายอยู่บนพื้นดินกำลังกรนอยู่ จึงเข้าไปจับตัวศพนั้นซึ่งมีเวตาลสิงอยู่ตวัดขึ้นบนบ่า และรีบดำเนินไปอย่างรวดเร็วเพื่อไปยังที่ซึ่งนัดไว้กับโยคีศานติศีล เวตาลซึ่งแขวนอยู่บนบ่าก็เริ่มกล่าวทำลายความเงียบขึ้นว่า

"โอ ราชะ ภาระที่พระองค์ต้องทนแบกไว้นี้ช่างสาหัสสากรรจ์เสียจริง ๆ ไม่เหมาะสมแก่พระองค์เลย ถ้ากระไรข้าจะเล่านิทานให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง เพื่อจะได้ทรงเพลิดเพลิน ขอให้ทรงฟังเถิด"



บนฝั่งของแม่น้ำยมุนา ณ ที่แห่งนั้น เป็นเขตคามที่กำหนดไว้สำหรับพวกพราหมณ์โดยเฉพาะ มีชื่อว่าหมู่บ้านพรหมสถล ในหมู่บ้านนี้มีพราหมณ์ผู้หนึ่งอาศัยอยู่ มีชื่อว่า อัคนิสวามิน เป็นผู้ที่เจนจบในคัมภีร์พระเวททั้งปวง (คือคัมภีร์ไตรเวท ประกอบด้วยคัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท ต่อมาภายหลังได้เพิ่มเข้าไปอีกคัมภีร์หนึ่ง คืออถรรพเวท จึงเรียกว่า จตุรเวท) พราหมณ์ผู้นี้มีบุตรสาวแสนสวยผู้หนึ่งชื่อว่า มันทารวดี ความงามของนางล้ำเลิศหาที่เปรียบมิได้ราวกับเป็นผลงานที่พระพรหมทรงสรรค์สร้างขึ้น และเมื่อนางได้กำเนิดมาแล้วก็ดูเหมือนว่าท้าวธาดาเธอทรงสิ้นเยื่อใยในเทพอัปสรทั้งปวงโดยสิ้นเชิง เมื่อนางเจริญวัยเป็นสาวแรกรุ่นนั้นปรากฏว่ามีพราหมณ์หนุ่มสามคนเดินทางมาจากแคว้นกันยกุพชะ พราหมณ์เหล่านี้เป็นผู้แตกฉานในศาสตร์ทั้งปวงเท่าเทียมกัน และพราหมณ์แต่ละคนก็มุ่งมาสู่ขอมันทารวดีโฉมงามจากบิดาของนาง ต่างคนต่างก็สาบานว่าถ้านางแต่งงานกับคนอื่น ตนก็จะฆ่าตัวตาย แต่บิดาของนางก็มิได้ยกนางให้แก่ใคร เพราะเกรงว่าถ้ายกให้คนหนึ่ง อีกสองคนก็จะฆ่าตัวตายเสีย ดังนั้นนางจึงคงอยู่เป็นโสดเรื่อยมามิได้คิดแต่งงานกับใคร และพราหมณ์ทั้งสามก็ยังคงพักอยู่ที่นั่นเรื่อยมา ทั้งกลางวันและกลางคืนก็เฝ้าแต่มองดูพักตร์ของนางอันงามเปล่งปลั่งราวกับสมบูรณจันทร์ (พระจันทร์เต็มดวง) ต่างก็ไม่ได้กินไม่ได้นอน ทำตนราวกับนกจโกระ (นกเขาไฟ ตามนิยายโบราณกล่าวว่า "ยังชีพอยู่ได้ด้วยแสงจันทร์") ซึ่งอาศัยแสงจันทร์เป็นอาหารฉะนั้น



ต่อมานางมันทารวดีล้มป่วยเป็นไข้อย่างรุนแรง นางมิอาจจะทนทานต่อพิษไข้ได้ก็ถึงแก่ความตาย พราหมณ์หนุ่มทั้งสามมีความเศร้าโศกอย่างยิ่ง นำร่างอันเป็นศพของนางไปสู่ป่าช้า สวดให้แก่นางด้วยความรักและเผาศพนางที่จิตกาธาน พราหมณ์หนุ่มคนหนึ่งสร้างกระท่อมน้อยขึ้นตรงที่ใกล้ เอาเถ้าถ่านอังคารของนางมาโปรยลงบนเตียงและนอนทับบนพื้น เขายังชีพไปวันหนึ่ง ๆ ด้วยการถือกะลาขออาหารกินตามมีตามเกิด พราหมณ์คนที่สองรวบรวมกระดูกของนางเอาไปทิ้งในแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนพราหมณ์คนที่สามถือเพศเป็นโยคีท่องเที่ยวพเนจรไปยังดินแดนต่าง ๆ



โยคีเดินทางผ่านแว่นแคว้นต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อวัชรโลก จึงเข้าไปภิกขาจารที่บ้านพราหมณ์ผู้หนึ่ง ท่านพราหมณ์ได้ต้อนรับเขาด้วยอัธยาศัยอันดียิ่ง เขาจึงนั่งบริโภคอาหารในบ้านพราหมณ์ผู้นั้น ขณะนั้นมีเสียงทารกร้องจ้าขึ้นมาและร้องติดต่อกันไม่หยุด ไม่มีใครจะห้ามให้หยุดได้ นางพราหมณีผู้เป็นมารดาบันดาลโทสะจึงจับทารกขึ้นมาแล้วโยนโครมลงไปในกองไฟ เด็กถูกไฟเผาจนกลายเป็นเถ้าถ่าน โยคีผู้นั่งกินอาหารอยู่เงียบ ๆ แลเห็นเหตุการณ์โดยตลอดก็ตกใจ รู้สึกสยดสยองจนขนหัวลุกชัน ร้องออกมาว่า "พุทโธ่ พุทโธ่เอ๋ย นี่ข้าเข้ามาในบ้านของพราหมณ์รากษสหรือนี่ ข้าไม่กินอะไรแล้ว เพราะการเสพอาหารในบ้านของพราหมณ์ปีศาจเช่นนี้เป็นบาปกรรมอย่างมหันต์ไม่ว่าจะเป็นอาหารชนิดใดก็ตาม"



ขณะเมื่อเขากล่าวดังนี้ พราหมณ์ผู้คฤหบดี (เจ้าของบ้าน) จึงพูดว่า



"อย่าตกอกตกใจไปเลย ท่านจงคอยดู ข้าจะชุบชีวิตเด็กคนนี้ขึ้นใหม่ โดยการร่ายมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ ดูสิ"



เมื่อกล่าวดังนี้แล้ว มหาพราหมณ์ก็เดินไปหยิบคัมภีร์มหาเวทอันศักดิ์สิทธิ์มาเปิดออกแล้วสวดมนตร์บทหนึ่ง ขณะที่สวดอยู่ก็เอาขี้เถ้าโปรยลงในกองไฟ พอสวดจบลง เด็กก็ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่ มีลักษณะและองคาพยพ (อวัยวะ) เหมือนเดิมทุกประการ พราหมณ์อาคันตุกะเห็นเหตุการณ์เป็นดังนั้นก็ค่อยคลายใจ ลงมือเสพอาหารต่อไปตามปกติ พราหมณ์เจ้าของบ้านเมื่อร่ายมนตร์เสร็จแล้ว ก็เอาคัมภีร์ไปเก็บไว้ที่เดิม ลงมือกินอาหารเสร็จแล้วก็เข้านอนในราตรี พราหมณ์อาคันตุกะก็กระทำเช่นเดียวกัน



พอเห็นพราหมณ์เจ้าของบ้านและภรรยานอนหลับแล้ว โยคีหนุ่มก็ลุกขึ้นค่อย ๆ ย่องไปที่เก็บคัมภีร์และหยิบเอาไป ตั้งใจจะเอาไปใช้ชุบชีวิตให้แก่นางมันทารวดีผู้เป็นที่รัก โยคีหนุ่มออกจากบ้านนั้นไปพร้อมด้วยคัมภีร์มหาเวท รีบเร่งเดินทางทั้งกลางวันและกลางคืน มุ่งกลับไปยังสุสานที่ตนและพรรคพวกช่วยกันเผาศพนางครั้งนั้น พอมาถึงป่าช้าก็แลเห็นพราหมณ์คนที่สองเดินทางกลับมาแล้วหลังจากที่เอาอัฐิของนางไปโยนแม่น้ำคงคาเพื่อให้นางไปสู่สุคติ และที่สุสานนั้นเช่นกันก็แลเห็นพราหมณ์ผู้เอาอังคารธาตุของนางมาโปรยนอน กำลังหลับอยู่ในกระท่อมที่สร้างไว้ จึงพูดกับพราหมณ์สหายให้รื้อกระท่อมทิ้งเสีย เพื่อตนจะได้ทำพิธีร่ายมนตร์มฤตสัญชีวินี (มนตร์ชุบคนตายให้ฟื้นคืนชีวิต พระศุกร์ได้มาจากพระศิวะและสืบต่อกันมาถึงคนรุ่นหลัง) ชุบชีวิตนางขึ้นใหม่ เมื่อรื้อกระท่อมทิ้งแล้วเถ้าถ่านของนางก็ตกเรี่ยรายอยู่บนพื้นดิน โยคีหนุ่มเมื่อเห็นทุกสิ่งพร้อมแล้วก็เปิดคัมภีร์ร่ายมนตร์อันศิกดิ์สิทธิ์พร้อมกับโปรยฝุ่นลงไปบนพื้นดินผสมผสานกับเถ้าถ่าน มินานพอจบมนตร์ดังกล่าวก็ปรากฎร่างนางมันทารวดีขึ้นในกองไฟ นางก้าวออกมาจากกองไฟพิธีด้วยรูปโฉมอันเปล่งปลั่งงดงามยิ่งกว่าเดิม ราวกับทองคำที่ถูกไฟชำระแล้วมีความสุกปลั่งผุดผ่องฉะนั้น



เมื่อพราหมณ์ทั้งสามแลเห็นนางมันทารวดีผู้งามเฉิดฉายราวเทพอัปสรปรากฏเฉพาะหน้า ต่างคนต่างก็แทบจะคลั่งตายเพราะความรัก และต่างก็ทุ่มเถียงแก่งแย่งกรรมสิทธิ์ในตัวนางด้วยกัน ไม่มีใครยอมเสียสละแก่กัน พราหมณ์ผู้เป็นโยคีกล่าวว่า "นางต้องเป็นของข้าเพราะข้าเป็นคนร่ายมนตร์ศักดิ์สิทธิ์ชุบนางขึ้นมาจากความตาย ข้าย่อมมีสิทธิ์ในตัวนาง" พราหมณ์คนที่สองเถียงว่า "นางควรเป็นของข้าเพราะข้าเป็นคนเอาอัฐิของนางไปโปรยลงในแม่น้ำคงคา ทำให้นางสะอาดบริสุทธิ์ด้วยสายน้ำอันศักดิ์สิทธิ์นั้น" และพราหมณ์คนที่สามก็กล่าวขึ้นอย่างเชื่อมั่นเต็มที่ว่า "ข้าเท่านั้นที่ควรจะได้นางเป็นภรรยา เพราะข้าเอาเถ้าถ่านของนางมาเก็บไว้และบำเพ็ญตบะเพื่อนางทุกวัน"



"โอ ราชะ" เวตาลกล่าวยิ้ม ๆ "โปรดตัดสินทีเถอะ ว่าในสามคนนี้นางควรจะเป็นของใคร ถ้าพระองค์รู้แล้วแกล้งไม่ตอบ พระเศียรของพระองค์จะต้องแยกเป็นเสี่ยง ๆ"



ฝ่ายพระเจ้าตริวิกรมเสนเมื่อได้ยินเวตาลพูดดังนั้นจึงตรัสว่า "ชายคนที่ร่ายมนตร์ทำให้นางคืนชีวิตขึ้นมานั้น ถึงแม้เขาจะต้องใช้ความสามารถและลำบากลำบนปานใด ก็ควรจะเป็นพ่อของนางเท่านั้น และพราหมณ์คนที่เอาอัฐิของนางไปสู่แม่น้ำคงคาก็ควรจะถือว่าเป็นลูกของนางอย่างเดียว ส่วนพราหมณ์ที่เก็บเถ้าถ่านของนางและคงอยู่ที่ป่าช้าถึงกับสร้างที่อยู่ตรงที่เผาศพนาง และบำเพ็ญตบะเพื่อนางนั่นต่างหาก ควรจะได้เป็นสามีของนางโดยแท้ เพราะเขาอยู่กับนางตลอดเวลามิได้ทอดทิ้งนางไปไหน แสดงความรักอันดื่มด่ำต่อนางแม้เพียงนอนบนเถ้าธุลีของนางโดยมิได้รังเกียจ"



เมื่อเวตาลได้ฟังพระเจ้าตริวิกรมเสนตรัส ดังนั้น เป็นการละเมิดสัญญาที่ตกลงกัน จึงอันตรธานจากบ่าของพระราชากลับไปที่อยู่ของตน แต่พระราชาก็ต้องทนลำบากติดตามหาตัวมันอีก ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงถือมั่นในสัจจะที่ให้ไว้แก่โยคีศานติศีล และบุคคลที่มีสัจจะเช่นพระองค์นั้นไม่ว่าจะเป็นใครก็ย่อมจะปฏิบัติเหมือนกันหมด คือต้องทำภาระของตนให้สำเร็จลุล่วงไป ไม่ว่าจะต้องทนลำบากแม้ใหญ่หลวงเพียงไร



--------------------------------------------------------------------------------

http://www.lokwannakadi.com/